line oa picture size

ขนาดรูป line หมดทุกไซส์ ถูกใจ Online marketing อัพเดตปี 2024

line oa picture size

Line เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่นิยมใช้ในปัจจุบัน นอกเหนือจากการติดต่อสื่อสารแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการทำ Online marketing ด้วย หรือที่เรียกว่า Line ads ซึ่งแน่นอนว่า หากต้องการใช้ช่องทางนี้ในการทำการตลาดออนไลน์ เราจำเป็นต้องรู้ถึงขนาดรูป line เพื่อที่จะได้นำมาสร้างสรรค์เป็นคอนเทนต์หรือ Line ads ให้เหมาะสมนั่นเอง อย่าลืมว่าการทำกราฟิก หรือรูปภาพประกอบคอนเทนต์นั้น เป็นสื่อที่ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย และสร้าง Visual ของแบรนด์ได้ดีกว่าการใช้แค่ข้อความธรรมดา 

วันนี้เรามีขนาดรูปในไลน์ครบทุกไซส์ที่แสดงในรูปแบบของโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบบที่ต้องถูกใจสาย Online marketing มาฝากกันค่ะ เพื่อที่จะได้นำไปประยุกต์สร้างเป็นคอนเทนต์เก๋ๆ หรือ Line ads ปังๆกันนนน ไปค่ะ ลุยกันเลยยยยย

1. ขนาดรูป Line: ภาพโปรไฟล์ และรูป Cover

  • ภาพโปรไฟล์: ภาพที่แสดงแทนตัวของผู้ใช้, แบรนด์ หรือธุรกิจ ซึ่งเป็นภาพแรกที่ทุกคนจะเห็น ขนาดที่เหมาะสมคือ 168×168 px หรือเป็นภาพแนวสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยเป็นขนาดที่ชัดที่สุด ที่จะแสดงผลออกมาได้ 
  • ภาพปกไลน์: ขนาดภาพที่เหมาะสมคือ ภาพแนวตั้ง 720×1280 px แต่เมื่อลองใช้งานแล้ว จะพบว่าขนาดดังกล่าว บริเวณด้านล่าง จะถูกบังด้วยเมนู

ดังนั้น ควรใช้บริเวณ safe zone ของภาพ ในสัดส่วนของ 720×978 px (บริเวณกลางภาพ) ซึ่งสาระสำคัญหรือสิ่งที่ต้องการให้เห็นอย่างชัดเจน ควรอยู่ในบริเวณ Safe zone นี้ด้วย

2. ขนาดรูป Line: ในแชตสนทนา

จริงอยู่ที่ในแชต สามารถอัปโหลดได้ทุกขนาด และ Line เองก็แสดงผลให้ได้ครบทุกขนาดได้ด้วยเช่นกัน แต่สำหรับการทำการตลาดออนไลน์ หรือใช้เพื่อการขายแล้วนั้น ก็ควรเป็นอัตราส่วนที่อ่านง่าย และพอดีกับหน้าจอภาพโทรศัพท์ ซึ่งในที่นี้ ขอแนะนำขนาดรูปในไลน์ 3 ขนาด ที่ทำให้ภาพน่าอ่านมากยิ่งขึ้น

  • ขนาด 1200×1600 px (แนวตั้ง 3:4) – เหมาะกับการจัดวางองค์ประกอบที่ไล่เรียงจากส่วนบนลงมาส่วนล่าง หรือวางภาพสินค้าด้านบน แล้วมีคำโปรยเด่นๆอยู่ด้านล่าง และต้องการใส่ภาพที่เน้นขนาดใหญ่ การใช้สัดส่วน 3:4 ถือเป็นขนาดที่เหมาะสม
  • ขนาด 1200×1200 px (สี่เหลี่ยมผืนผ้า 1:1) – เหมาะกับการทำภาพที่สามารถนำไปใช้ต่อในแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Facebook, Twitter หรือ Instagram ทำครั้งเดียว สามารถใช้ได้หลากหลายช่องทาง และรวมถึงช่องทางของ Line ด้วยเช่นกัน
  • ขนาด 1200×900 px (แนวนอน 4:3) – หากเป็นภาพถ่ายแบบทั่วไป การทำแนวนอนเป็นสัดส่วน 4:3 ซึ่งต่อให้ดูเล็กกว่า 2 ขนาดด้านบน แต่ยังให้ความชัดเจนอยู่ในการทำภาพแนวนอน

*หากใครต้องการส่งภาพเป็นแบบ Album ก็สามารถทำได้ โดยการส่งภาพพร้อมกันหลายๆภาพ แต่การแสดงผลอาจจะต่างกันเล็กน้อย คือ

  • หากจำนวนภาพใน Album เป็นเลขคู่ ภาพทั้งหมดจะถูกปรับให้แสดงเป็นสัดส่วนสี่เหลี่ยมจัตุรัส
  • หากจำนวนภาพใน Album เป็นเลขคี่ ภาพสุดท้ายจะถูกปรับให้เป็นขนาด 16:9 ส่วนภาพที่เหลือจะเป็นขนาดจัตุรัสเท่าเดิม

3. ขนาดรูป Line: ในหน้า Timeline

หลายๆคนมองข้ามการใช้ฟีเจอร์นี้ แต่จริงๆเราสามารถใช้โปรโมตแบรนด์หรือสินค้าได้ เพราะหากเราทำการโพสต์ลงหน้า Timeline เป็นประจำ จะทำให้โปรไฟล์ดูเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีขนาดดังต่อไปนี้

  • ขนาด 1200×1200 px (สี่เหลี่ยมผืนผ้า 1:1) – เป็นการใช้ขนาดที่สามารถทำให้เห็นภาพที่มีนาดเต็ม รายละเอียดชัดเจน และหลายๆแบรนด์มักใส่ปุ่ม CTA บริเวณด้านล่าง เพื่อให้คนที่สนใจกดเข้าไปซื้อสินค้าได้
  • ขนาด 1200×1540 px (แนวตั้ง 7:9) – เป็นขนาดที่กว้างที่สุด จึงเหมาะกับคอนเทนต์ที่มีองค์ประกอบเยอะ และดึงดูดสายตาได้มากที่สุด
  • ขนาด 1200×600 px (แนวนอน 2:1) – เป็นขนาดรูปในไลน์ที่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่หากต้องการทำภาพแนวนอนบน Timeline สัดส่วนนี้ถือว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด

4. ขนาดรูป Line: สำหรับ Line ads platform (LAP)

Line Ads Platform คืออะไร ?

เป็นรูปแบบหนึ่งในการซื้อโฆษณาเพื่อให้คอนเทนต์ของเราไปปรากฎในพื้นที่ต่างๆบน LINE แต่สามารถใช้ได้กับ LINE Offial Account เท่านั้น

เราสามารถลง Line Ads ผ่าน LAP ได้อย่างไร

หากคุณมี LINE Official Account แล้ว และต้องการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผู้คน ก็สามารถใช้บริการ LINE Ads Platform (LAP) ในรูปแบบโพสต์ที่ได้รับการสนับสนุน (Sponsored Post) ซึ่งจะเป็นโฆษณาที่ปรากกบน LINE Timeline และ LINE Today

ขนาดรูปสำหรับ Line Ads มีอะไรบ้าง

  • ขนาด 1080×1080 px (สี่เหลี่ยมจัตุรัส 1:1) – ขนาดที่สามารถเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ซึ่ง LAP สามารถเพิ่ม CTA ที่ลูกค้าจะสามารถกดเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการได้ทันที รวมถึงปุ่มเพิ่มเพื่อน, ปุ่มที่ลิงก์ไปยังหน้า Landig page ก็สามารถทำได้เช่นกัน
  • ขนาด 1200×628 px (Horizontal 1.9:1) – เหมาะสำหรับใช้เป็นภาพ Pop up ที่จะแสดงสุ่มขึ้นมาใน Line Today

5. ขนาดวิดีโอบน Line Ads Platform

  • ขนาด 1080×1080 px (สี่เหลี่ยมจัตุรัส 1:1) – เป็นขนาดวิดิโอทั่วไป สามารถใช้ได้กับหลากหลายแพลตฟอร์ม
  • ขนาด 1280×720 px (แนวนอน 16:9) – เป็นขนาดที่ใช้กับคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอเหมือนกันกับ Youtube ซึ่งสามารถใช้กับ Line Ads ได้เช่นกัน

6. ขนาดรูป Line: Rich Content

Rich Content คือ ลูกเล่นเพิ่มเติมของ LINE Official Account เป็นรูปภาพที่ดึงดูดให้เกิดการคลิกมากขึ้น โดยการออกแบบให้เป็นปุ่ม CTA ไปในตัว ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการเพิ่มยอด Conversion Rate ให้กับธุรกิจด้วยฟังก์ชันการใช้งาน 3 รูปแบบ ได้แก่

  • Rich Message: เพิ่มความน่าสนใจให้กับข้อความใน Chat ด้วยการส่งข้อความพร้อมรูปภาพที่เป็น CTA ลิงก์ไปยังหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการ
  • Rich VDO: เปลี่ยนการนำเสนอด้วยรูปแบบวิดีโอแบบเต็มหน้าจอแชต เมื่อทำการบรอดแคสต์
  • Rich Menu: เพิ่มความสวยงามให้กับหน้าจอแชต ลดเวลาในการถาม-ตอบ รวมถึงส่งเสริมการโปรโมตของแบรนด์ด้วยการใช้ฟีเจอร์นี้

ขนาดรูปภาพ Line ใน Rich Content ต่างๆ

  • Rich Message ขนาด 1040×1040 px (สี่เหลี่ยมจัตุรัส 1:1) – Rich Message ในรูปแบบของรูปภาพ ที่สามารถส่งในแชตให้กับลูกค้าโดยตรง อีกทั้งยังแทรกลิงก์ลงไปในภาพได้อีกด้วย แต่ต้องมีขนาดไฟล์ไม่เกิน 10 mb และรองรับเฉพาะ JPG และ PNG โดยจะมีเทมเพลตให้ใช้งานได้มากถึง 8 รูปแบบ ดังนี้

เข้าไปสร้าง Template ได้ที่ : https://lineforbusiness.com/richmessagemaker/

  • Rich VDO ขนาด 1200×628 px (แนวนอน 16:9) – เป็นขนาดวิดีโอแบบเต็มหน้าจอของสมาร์ทโฟน ตามตัวอย่างดังนี้

เข้าไปสร้าง Template ได้ที่ : https://lineforbusiness.com/richmessagemaker/

  • Rich Menu ปุ่มเมนูด้านล่างของแชต ใช้งานได้หลากหลาย ตามที่ผู้ใช้กำหนด ซึ่งจะมีวิธีการสร้างได้หลากหลาย หากอยู่ในรูปแบบที่ไม่ต้องเขียนโค้ด จะแบ่งขนาดออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
    • Line Rich Menu (Large) ใส่ได้สูงสุด 6 ภาพ

    • Line Rich Menu (Small) ใส่ได้สูงสุด 3 ภาพ

เข้าไปสร้าง Template ได้ที่ :https://lineforbusiness.com/richmenumaker/

ขอบคุณที่มา: www.contentshifu.com

การทำคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มของ LINE มีหลากหลายรูปแบบให้เลือก ซึ่งแต่ละรูปแบบนั้นก็จะมีขนาดภาพที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ จะเลือกใช้คอนเทนต์แบบไหน จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับความต้องการในการสื่อสารเช่นกัน

หรืออยากใครต้องการ Digital marketing agency ไว้เป็นที่ปรึกษาเรื่องการตลาดออนไลน์ สามารถทักมาหา MarketingGuru ได้เลยน้า

ติดต่อ MarketingGuru

Inbox Facebook: m.me/marketingguru.io

โทร 02-381-9045

E-mail: contact@marketingguru.io

Barbie and marketing strategy from MarkeingGuru digital agency

บาร์บี้กับกลยุทธ์มาร์เก็ตติ้งที่ครองใจเด็กทั่วโลก

Barbie and marketing strategy from MarkeingGuru digital agency

I’m a Barbie girl in the Barbie world ~ คุ้นๆ กันไหมคะเพลงโด่งดังที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก ตุ๊กตาผู้หญิงผมสีบลอนด์ ตาฟ้า พร้อมกับโลโก้สีชมพูที่ครองหัวใจเด็กๆ มามากกว่า 60 ปี  แต่มีใครที่รู้บ้างว่าเบื้องหลังความประสบความสำเร็จ บาร์บี้ทำอย่างไรถึงกลายมาเป็นของเล่นและของสะสมชิ้นโปรดของใครหลายๆ คน บทความนี้จะมาเจาะเทคนิคการตลาดที่ทำให้บาร์บี้มียอดขายมหาศาลจนถึงทุกวันนี้

 

1. Branding

บาร์บี้มีจุดขายจากการ Branding โดยเล่นจากอารมณ์ ความรู้สึก ผ่านโฆษณาให้ทั้งผู้เล่นและผู้ซื้อรู้สึกว่าบาร์บี้เป็นตัวแทนเสมือนเพื่อนจริงๆ ตุ๊กบาร์บี้ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ เพื่อปรับเข้าให้กับวัฒนธรรมและความหลากหลายของอาชีพในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการใช้สีสันสดใสที่เป็นเอกลักษณ์ เกิดเป็นสีชมพู “Barbie Pink” Tag line ประโยคที่ฮิตมาจนถึงทุกวันนี้อย่าง “You can be anything” ซึ่งเป็นข้อความที่มีอิทธิพลอย่างมาก 

2. Collaborati0n

Collaboration ทำให้บาร์บี้โด่งดังมากขึ้น ด้วยการร่วมมือกับหลายๆ คนดัง หรือแม้แต่คอลเลคชั่น Disney ที่ทั้งดึงดูดกลุ่มเป้าหมายกว้างขึ้นนอกจากวัยเด็ก แต่วัยผู้ใหญ่ที่ก็สามารถสะสมได้ด้วยเช่นกัน เมื่อยุคดิจิทัลเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงเกิดการทำแคมเปญตามกระแสผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น Youtube  

การนำเสนอวิดีโอแกะกล่องและวิดีโอเล่นพร้อมชุดตุ๊กตาบาร์บี้และอุปกรณ์เสริมใหม่ เหล่ายูทูปเบอร์นี้แกะนการแนะนำผลิตภัณฑ์ของ Barbie ให้กับฐานแฟนคลับ สร้างความสนใจและกระตุ้นยอดขาย จะเห็นได้ว่าเป็นเพิ่มลูกค้าใหม่ๆ และเพื่อให้แบรนด์มีสดใหม่ มีอะไรน่าสนใจ ตื่นเต้นอยู่เสมอ

3. Game

หากเกิดในยุค 90’s ก็คงจะทันสมัยเกมส์ที่บาร์บี้ปล่อยออกมาให้เล่นกันบ้าง ซึ่งเกมส์จะเกี่ยวกับตัวละครตามภาพยนตร์ เพิ่มประสบการณ์ ความสนุกสนานผ่านตัวละครเป็นที่จดจำมากยิ่งขึ้น เพิ่มการจจดำ เมื่อมีความสุขกับเกมส์จะนำไปสู่ loyaltyต่ยอดไปยังสินค้าอื่นๆ ที่วางขาย เนื่องจากการเข้าไปเล่นเว็บไซต์ต้องกรอกอีเมลผู้ใช้งาน ในกรณีที่อายุไม่ถึง จำเป็นต้องใช้อีเมลผุ้ปกครอง ทำให้ได้ insights ของผุ้ที่สนใจในแบรนด์เพิ่ม

4. Personalization

เด็กๆ สามารถเลือกสีผมสีผิว เครื่องแต่งกาย แม้แต่สัตว์เลี้ยงในการเล่นแบบของตัวเอง ซึ่งแตกต่างตุ๊กตาทั่วไปในยุคนั้น ความหลากหลายของตุ๊กตา ที่สามารถ Mix & Match คล้ายกับตัวเองหรือเพื่อน ส่งเสริมความคิดจินตนาการในการแสดงตัวตนออกมามากขึ้น และนำข้อมูลผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนจากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันในการปรับปรุงเนื้อหาอีเมล สำหรับ สินค้าหรือแคมเปญใหม่ๆ

 MarketingGuru หวังว่าบทความนี้จะให้ผู้อ่านเห็นภาพว่าการตลาดมีอิทธิพลต่อแบรนด์มากน้อยเพียงใด และวิธีเหล่านี้ส่งผลต่อแบรนด์และผู้บริโภคอย่างไรบ้าง หากสนใจทำการตลาดแล้ว สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมฟรีได้ตามด้านล่างนี้นะคะ

ติดต่อ MarketingGuru

Inbox Facebook: m.me/marketingguru.io

Line: @marketingguru

โทร 02-381-9045

 
7 martech tools for company

7 MarTech Tools ยอดฮิตให้ชีวิตทำงานง่ายขึ้น

7 martech tools for company

เมื่อพูดถึง MarTech หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นหูกับคำนี้นัก แต่ถ้าลองเอ่ยชื่อเครื่องมืออย่าง Google Analytics Tableau หรือ MOZ แล้วไม่ว่าจะเป็นนักการตลาด หรือคนทั่วไปย่อมเคยได้ยินชื่อผ่านๆ กันอย่างแน่นอน วันนี้มาร์เก็ตติ้งกูรูพร้อมที่จะพาทุกคนไปรู้จักเครื่องมือมาร์เทคยอดฮิตจนถึงปัจจุบัน ว่ามีอะไรบ้าง แล้วมีองค์กรไหนบ้างที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้

MarTech คืออะไร

MarTech ย่อมาจาก Marketing Technology ครอบคลุมเครื่องมือ แพลตฟอร์ม และกลยุทธ์มากมายที่ช่วยให้นักการตลาดสามารถเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญ ปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้งานและลูกค้า และทำการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูล ตั้งแต่การวิเคราะห์ขั้นสูงและระบบอัตโนมัติไปจนถึงปัญญาประดิษฐ์และการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า MarTech ช่วยให้นักการตลาดมีวิธีในการเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีที่ให้ผลลัพธ์น่าประทับใจ

1. SEMrush

SEMrush เป็นเครื่องมือทางการตลาดอันทรงพลังที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจปรับปรุงการมองเห็นทางออนไลน์และเพิ่มประสิทธิภาพการทำการตลาดดิจิทัล ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย รวมถึงการวิจัยคำหลัก การวิเคราะห์คู่แข่ง การวิเคราะห์ลิงก์ย้อนกลับ และการตรวจสอบไซต์ เป็นต้น เหมาะสำหรับนักการตลาดดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO และผู้สร้างเนื้อหาที่ต้องการเพิ่มปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ของตน แบรนด์ที่มีชื่อเสียง เช่น Airbnb, eBay และ BNP Paribas ประสบความสำเร็จในการใช้ SEMrush เพื่อปรับปรุงสถานะออนไลน์ของพวกเขาและเป็นผู้นำของการแข่งขัน

2. GA4

GA4 ย่อมาจาก Google Analytics 4 เป็นเวอร์ชันล่าสุดของแพลตฟอร์มวิเคราะห์เว็บยอดนิยมของ Google โดยจะให้ข้อมูลเชิงลึกขั้นสูงเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้ ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ และประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาด GA4 เหมาะสำหรับธุรกิจทุกขนาดที่ต้องการทำความเข้าใจอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับผู้ชมออนไลน์ของตนและทำการตัดสินใจจากข้อมูล แบรนด์ที่มีชื่อเสียง เช่น The New York Times, Shopify และ Coca-Cola ใช้ประโยชน์จาก GA4 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ วัด ROI ทางการตลาด และผลักดันการเติบโตของแบรนด์

3. Ahrefs

Ahrefs เป็นชุดเครื่องมือ SEO แบบครบวงจรที่ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ปรับปรุงการจัดอันดับของเครื่องมือค้นหา (search engine) และเพิ่มปริมาณการเข้าชม (traffic) ของเว็บไซต์ โดยจะนำเสนอข้อมูลต่างๆ เช่น การวิจัยคีย์เวิร์ด การวิเคราะห์ลิงก์ย้อนกลับ การวิเคราะห์เนื้อหา การติดตามอันดับ และอื่นๆ Ahrefs มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับมืออาชีพด้าน SEO นักการตลาดเนื้อหา และเอเจนซี่ดิจิทัล แบรนด์ที่มีชื่อเสียงเช่น Netflix, Facebook และ Adobe ได้ใช้ Ahrefs เพื่อเพิ่มการแสดงผลการค้นหา รับข้อมูลเชิงลึกจากการแข่งขัน และปรับปรุงกลยุทธ์ด้านเนื้อหา

4. Tableau

Tableau เป็นซอฟต์แวร์การแสดงข้อมูลและข่าวกรองธุรกิจชั้นนำที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถแปลงข้อมูลที่ซับซ้อนให้เป็นการแสดงข้อมูลแบบโต้ตอบและแดชบอร์ด ช่วยให้องค์กรสำรวจข้อมูล ระบุรูปแบบ และตัดสินใจอย่างรอบรู้ Tableau เหมาะสำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากพลังของการแสดงภาพข้อมูลเพื่อรับข้อมูลเชิงลึกและสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทต่างๆ เช่น Airbnb, Pfizer และ Unilever ประสบความสำเร็จในการใช้ Tableau เพื่อแสดงภาพและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้นและการเติบโตของธุรกิจ

5. Power BI

Power BI เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ธุรกิจที่มีประสิทธิภาพโดย Microsoft ที่ใช้สร้างรายงานและแดชบอร์ดเชิงโต้ตอบ ให้ธุรกิจสามารถรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แปลงเป็นข้อมูลเชิงลึก (insights) สำหรับแบ่งปัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมกันของ Power BI และ Slack สามารถปรับปรุงการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลโดยทำให้ทีมสามารถแบ่งปันและหารือเกี่ยวกับข้อมูลเชิงลึกภายในสภาพแวดล้อม Slack ที่ทำงานร่วมกันได้อย่างง่ายดาย องค์กรหลายแห่ง รวมถึง Adobe, Accenture และ T-Mobile ใช้ Power BI และ Slack เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน

6. Slack

แพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันสำหรับทีมทุกขนาด ปรับปรุงการสื่อสาร การแชร์ไฟล์ และการผสานรวมกับเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เชื่อมต่อทีมทางไกล จัดการการสนทนากับแชนเนล และรับประโยชน์จากการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น ได้รับความไว้วางใจจากผู้นำอุตสาหกรรมเช่น Airbnb, IBM, Target และ Salesforce อีกด้วย

7. WordPress

WordPress เป็นระบบจัดการเนื้อหายอดนิยม (CMS) ที่ช่วยให้ผู้ใช้สร้างและจัดการเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย มีอินเทอร์เฟซที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ ธีมและปลั๊กอินที่ปรับแต่งได้หลากหลาย และคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมสำหรับการสร้างและจัดการเว็บไซต์ WordPress เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป ธุรกิจขนาดเล็ก และแม้แต่องค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ แบรนด์ต่างๆ เช่น The New Yorker, Sony Music และ Microsoft News Center พึ่งพา WordPress ในการขับเคลื่อนเว็บไซต์และนำเสนอเนื้อหาที่น่าสนใจแก่ผู้ชม

เห็นได้ว่าประโยชน์จากการเลือกเครื่องมือมาร์เทคที่เหมาะสมจะทำให้ธุรกิจได้เปรียบในการแข่งขัน ตอบสนองแง่มุมต่างๆ ของการตลาด ตั้งแต่การวิเคราะห์ SEO และการแสดงข้อมูลเป็นภาพ ไปจนถึงการทำงานร่วมกัน การสื่อสาร และตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลได้ง่ายขึ้น  Marketingguru เอเจนซี่ด้านการตลาด ยินให้บริการด้าน Marketing ผสานรวมเครื่องมือมาร์เทคเหล่านี้เข้ากับกลยุทธ์การตลาดให้แต่ทุกองค์กรประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล

หากสนใจติดต่อเราได้ที่

Website: MarketingGuru

Inbox Facebook: m.me/marketingguru.io

Line: @marketingguru

โทร 02-381-9045

วิธีอินฟลูเอเนเซอร์ ให้เหมาะกับแต่ละแบรนด์

เลือกอินฟลูเอนเซอร์อย่างไรให้ตอบโจทย์

วิธีอินฟลูเอเนเซอร์ ให้เหมาะกับแต่ละแบรนด์

อินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวงการที่เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ และมีอิทธิพลต่อผู้ใช้งานในแต่ละแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram โดยเฉพาะแอปพลิเคชันอย่าง TikTok ที่กำลังมาแรงมากๆ เกิดเป็นอาชีพเลยทีเดียว สาเหตุที่แบรนด์ต่างๆ เลือกที่จะจ้างเหล่าอินฟลู ก็เพื่อเพิ่ม Brand awareness ของสินค้าตนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นรวมทั้งโปรโมชั่นต่างๆ ตัวอย่าง เช่น แบรนด์ Adidas ที่ต้องการเจาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นมากขึ้น พบว่าการใช้การตลาดแบบ Influencer นั้นประสบความสำเร็จถึง 70% ในแอปอินสตาแกรม เห็นได้ว่ากลยุทธ์ Influencer Marketing อาจมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคสนใจหรือซื้อสินค้ามากขึ้น หากยังไม่รู้ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ช่วยให้เลือกอินฟลูฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หาคำตอบจากบทความนี้ได้เลย

วิธีเลือกอินฟลูเอนเซอร์ให้ตอบโจทย์

บางครั้งการจ้างอินฟลูเอนเซอร์อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูง และไม่ได้ผลลัพธ์ดีเท่าที่ตั้งเป้าไว้ เพื่อให้เป้าหมายทางการตลาดประสบผลสำเร็จ ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการมองหาอินฟลูเอนเซอร์ มีดังนี้

1.ดูจาก location

หากคุณกำลังมองหาอินฟลูสำหรับโปรโมตด้านการท่องเที่ยวหรืออาหาร การส่องตาม location หรือ places ในแอปพลิเคชัน Instagram รวมทั้ง Facebook ก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่ดี เพื่อดูว่ามีท่านไหนที่เช็คอินหรือแท็กสถานนี้นั้นแล้วได้รับความนิยมบ้าง มียอดผู้ติดตาม การมีส่วร่วม และไลฟ์สไตล์ตรงกับภาพลักษณ์แบรนด์หรือไม่

2. ส่องตาม Hashtag

นอกจากสถานที่แล้ว การส่อง Hashtag จะทำให้ทราบได้ว่าอินฟลูท่านนั้นเคยรับงานประเภทใด สินค้าตลาดเดียวกันกับที่ต้องการอยู่หรือเปล่า ช่วยให้ผู้ใช้งานค้นหาผลิตภัณฑ์ได้ง่าย โดยเฉพาะแบรนด์เครื่องสำอางค์ที่ผลิตสินค้าหลายประเภท ผู้ใช่งานยังสามารถเห็นภาพสินค้า วิธีการใช้งาน สไตล์การ represent สินค้าที่แตกต่างกันไปในแต่ละท่าน เป็นอีกวิธีที่ได้รับความนิยมมากในการทำแคมเปญสินค้าใหม่อีกด้วย

3.กำหนดกลุ่มเป้าหมาย Demographics

ก่อนที่เริ่มต้นค้นหาอินฟลูฯ ให้กำหนดกลุ่มเป้าหมายของสินค้าหรือบริการให้ชัดเจน โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ เพศ สถานที่ ความสนใจ และพฤติกรรมการซื้อ การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายจะช่วยให้หาอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามที่ใกล้เคียงกันกับกลุ่มเป้าหมายได้

4.กำหนดเป้าหมายการตลาด

พิจารณาเป้าหมายทางการตลาดของคุณสำหรับแต่ละแคมเปญ ว่ามีเป้าหมายแตกต่างกันอย่างไร เช่น ต้องการที่จะเพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์ (Brand Awareness) กระตุ้นยอดขาย (Sales) หรือสร้างโอกาสในการขายให้กับกลุ่มใหม่ๆ หรือไม่? การมีเป้าหมายทางการตลาดจะช่วยให้หาอินฟลูฯ ที่ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการบรรลุได้ชัดเจนมากขึ้น

5.เลือกแพลตฟอร์มให้เหมาะ

แม้จะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์เหมือนกัน เชื่อหรือไหมว่าในแต่ละช่องทางโซเชียลมีเดีย ผู้บริโภคก็มีพฤติกรรมในการดูเนื้อหาที่แตกต่างกันไป รวมถึง ช่วงอายุ ในการใช้ระยะเวลาบนแพลตฟอร์มนั้นๆ ฉะนั้น ควรทำความเข้าใจเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด เพื่อเลือกแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง Instagram, YouTube, TikTok หรือ Twitter ก่อนที่จะเลือกหาในเหล่าอินฟลูฯ  ให้ตรงตามความต้องการ

6.ใช้เครื่องมือช่วย

มองหาเครื่องมือหรือผู้เชี่ยวชาญอย่างเอเจนซี่ในการหาอินฟลูเอนเซอร์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดี โดยสามารถกำหนดได้ว่าคุณให้ความสนใจกับอะไรบ้าง เช่น จำนวนผู้ติดตาม (Followers) อัตราการมีส่วนร่วม (Engagement) คุณภาพเนื้อหา (Content Quality) และความสม่ำเสมอ (Consistency) ตัวอย่างเครื่องมือช่วยวิเคราะห์เมตริกประสิทธิภาพของอินฟลูฯ ได้แก่ Social Blade, BuzzSumo และ HypeAuditor

7.ประเมินการมีส่วนร่วมและการเข้าถึง

การเลือกวิธีใช้อินฟลูเอนเซอร์ ควรพิจารณาอัตราการมีส่วนร่วม (Engagement) แบ่งออกเป็น like, share, comment หรือ view ซึ่งบ่งบอกถึงจำนวนผู้ชมที่ถูกวัดระดับการมีส่วนร่วมจากโพสต์ที่ผ่านมา เพื่อประเมินเบื้องต้นถึงผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางการตลาดและกลุ่มเป้าหมายตามที่แบรนด์ต้องการ ตัวอย่างเช่น การใช้แมคโครอินฟลูเอนเซอร์อาจไม่ได้ผลดีเสมอไป เทียบกับไมโครอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 10,000- 50,000 คน ไปจนถึงผู้ติดตามน้อยอย่างนาโน 1-10,000 คน อาจมีผู้ชมที่มีส่วนร่วมมากกว่าโดยเฉพาะ niche market

8.วิเคราะห์แนวเนื้อหา

เนื้อหาหรือแคปชั่นก็เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ แม้ว่าแบรนด์จะสามารถบรีฟหรือคิดเนื้อหาเองให้กับทางอินฟลูเอนเซอร์ แต่แต่ละแพลตฟอร์มก็มีอัลกอริทึ่ม (Algorithm) ไม่เหมือนกัน การที่เลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่เข้าใจรูปแบบเนื้อหาที่ต้องผลิตจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของแพลตฟอร์มนั้นๆ หากอินฟลูฯ ท่านนั้นมีความสนใจสินค้าอย่างแท้จริงหรือเคยโปรโมตผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันมาก่อน มีผลให้ทำความเข้าใจหรือโปรโมตเนื้อหาที่สอดคล้องกับเทรนด์ ความต้องการ สื่อข้อความของแบรนด์ได้มากขึ้น และสะท้อนข้อความภาพลักษณ์แบรนด์ที่ถูกต้อง

9.ติดตามและวัดผล

ในระหว่างและหลังแคมเปญ ให้ติดตามประสิทธิภาพและวัดผลKPI เช่น การเข้าชมเว็บไซต์ (traffic) คอนเวอร์ชั่น (conversion) การมีส่วนร่วม (engagement) และการกล่าวถึงแบรนด์ (Brand Mentions) การวิเคราะห์ความสำเร็จของแคมเปญที่ผ่านมาจะช่วยปรับกระบวนการคัดเลือกอินฟลูเอนเซอร์ได้ดียิ่งขึ้นสำหรับแคมเปญต่อไปในอนาคต

Influencer Marketing ที่เหมาะสมนั้นจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบหลักๆ ตั้งแต่กระบวนการหาอินฟลูเอนเซอร์ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา ไปจนถึงแพลตฟอร์มที่ต้องการให้โปรโมต สิ่งสำคัญคือต้องติดตามและวัดผลในแต่ละกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อคอยพัฒนาประสิทธิภาพของแคมเปญ Marketingguru ยินดีให้บริการด้าน Influencer Marketing ในการหาอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสมกับแบรนด์และวางแผนการตลาดเพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ

หากสนใจติดต่อเราได้ที่

Website: MarketingGuru

Inbox Facebook: m.me/marketingguru.io

Line: @marketingguru

โทร 02-381-9045

 

 

Visual Content in digital marketing

Visual Content ในการทำ Content Marketing

Visual Content in digital marketing

จริงอยู่ที่ คอนเทนต์ในเว็บไซต์ หรือ Social Media ต่างๆ จะได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจ หากเนื้อหาคอนเทนต์ถูกใจผู้อ่านและ Search Engine   แต่.. หากจะทำให้คอนเทนต์นี้น่าสนใจ และดึงดูดผู้ชมให้อยู่ในเว็บไซต์นานๆนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง ที่การทำ Online Marketing ครั้งนี้ ต้องมี Visual Content  เพื่อให้บทความนั้นๆ สะกดใจนักอ่านได้อยู่หมัดนั่นเองค่ะ

Visual Content คืออะไร ?

คือ คอนเทนต์ที่อยู่ในรูปแบบของภาพและวิดีโอ เช่นรูปภาพ, GIFS, สไลด์, Infographic, VDO, E-books และรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่เป็นตัวหนังสือ ซึ่งสื่อเหล่านี้ จะสามารถสร้างความน่าสนใจให้กับบทความนั้นๆได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วยค่ะ 

และในบทความนี้ จะขอกล่าวถึงหัวข้อที่ทาง Canva ได้รวบรวมข้อมูลไว้ มาฝากกันค่ะ

  1. ภาพที่ดึงดูด

93% ของผู้บริโภคกล่าวว่า ภาพเป็นหนึ่งสิ่ง ที่มีผลต่อการตัดสินใจ รวมไปถึงภาพที่ใช้โฆษณา ซึ่งควรเลือกใช้พรีเซนเตอร์ให้ดี เพื่อนำเสนอแบรนด์สู่ผู้บริโภคนั่นเอง

  1. ใช้คำคม เป็นแรงบันดาลใจ

เราสามารถสอดแทรกคำคม หรือข้อคิดลงไปในบทความ เพื่อแสดงถึงความเป็นตัวตนออกมา โดยเพิ่มลูกเล่นด้วยการจัดวาง หรือครีเอตกรอบ ดีไซน์แบบเรียบง่าย เพิ่มความน่าสนใจให้กับคอนเทนต์ได้เป็นอย่างดี

  1. Call to Action

การมีปุ่ม Call to Action ถือเป็นสัญลักษณ์บอกกับผู้บริโภคว่าต้องไปไหน หรือทำอย่างไรต่อ ประกอบกับการใช้คำที่โดนใจและสีที่สะดุดตา จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจได้มากขึ้นอีกด้วย

  1. Branded Images

ภาพที่นำมาใช้ประกอบคอนเทนต์ ควรเป็นภาพที่ไม่ซ้ำใคร สร้างความแตกต่างและน่าสนใจให้กับแบรนด์อีกด้วย

  1. นำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ

หากมีข้อมูลที่ค่อนข้างยาว หรือเข้าใจยาก ควรย่อยเนื้อหาให้เข้าใจง่าย เช่น สรุปในรูปแบบกราฟหรือชาร์ตแทนการพิมพ์เป็นตัวอักษร เพื่อความเข้าใจที่รวดเร็วและถูกต้อง

  1. Video Content

วิดีโอ เป็นสื่อที่ดึงดูดผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี เพราะทำให้เข้าใจได้ง่าย มากกว่าการอ่านข้อความ และภาพนิ่ง

7. เกร็ดความรู้ หรือ How to ต่างๆ

การทำคอนเทนต์ประเภท How to ถือเป็นคอนเทนต์ตอบโจทย์การค้นหาของผู้บริโภค เนื่องจากในการค้นหา หลายๆคนมักค้นหาด้วย ทำอย่างไร..,ทำยังไง.., หากเรานำส่วนนี้มาประยุกต์ในเว็บไซต์ ถือเป็นความคิดที่ดีเลยนะ

  1. Informative Screenshot

การใช้คำอธิบายภาพ จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับช้อมูลที่ชัดเจนขึ้น เช่น ความคิดเห็นหรือรีวิวต่างๆ จะทำให้แบรนด์ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

  1. สร้างคำถามที่กระตุ้นความคิด

ในบทความ สามารถมีบทสนทนาได้ ซึ่งควรจะเป็นลักษณะคำถามปลายเปิด ที่ไม่มีคำตอบที่ถูกผิดชัดเจน ถือเป็นการเก็บข้อมูลผู้บริโภคไปในตัวด้วยค่ะ

  1. Infographic

การทำ Infographic ถือเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจ และสร้างยอดการเข้าถึงได้ดีกว่าการทำ Graphic แบบทั่วไป นับว่าเป็นการใช้ภาพที่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้ดีเยี่ยมเลยค่ะ

จากที่ว่ามา Visual Content นับได้ว่าเป็นหนึ่งตัวช่วยการทำ Content Marketing ที่สามารถดึงดูดใจผู้อ่านได้มากกว่าเท่าตัว ซึ่งในปัจจุบันนั้น มีอยู่มากมาย ทั้งนี้ ควรเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมต่อคอนเทนต์นั้นๆ เพื่อการเข้าถึง และประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้นด้วยค่ะ

หรือถ้าธุรกิจไหน สนใจการทำ Content Marketing ผสมเข้ากับการใช้ Visual Content ในรูปแบบของ Online Marketing แล้วกำลังมองว่า Digital Marketing Agency อยู่ นึกถึง MarketingGuru นะคะ 🙂

ติดต่อ MarketingGuru

Inbox Facebook: m.me/marketingguru.io

Line: @marketingguru

โทร 02-381-9045

Real Time Content in digital marketing

Real Time Content หากเล่นแล้ว จะเด่นอย่างไร

Real Time Content in digital marketing

คอนเทนต์ในโลกออนไลน์มีด้วยกันมากมายหลายแบบ หนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยม คือ Real Time Content (เรียลไทม์คอนเทนต์) ด้วยเพราะกระแสนิยม หรือความสนใจในขณะนั้น ที่นำมาเชื่อมโยงกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ทำให้เกิดเป็นคอนเทนต์ ณ ขณะนั้นแบบทันท่วงทีนั่นเอง

ซึ่งด้วยความมาไวไปไว รวมถึงบางกระแส อาจจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ ทำให้หลายๆธุรกิจเกิดความลังเล ว่าควรเล่นกับกระแสหรือไม่? เล่นแล้วจะเกิดผลกระทบต่อแบรนด์อย่างไร? ซึ่งในส่วนนี้นั้น เราจะมาพูดถึงผลที่ได้รับจากการเล่น Real Time Content กันค่ะ 

Real Time Content คืออะไร ?

คือการทำคอนเทนต์บนsocial media ที่ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน หรือมีสถานการณ์ที่น่าสนใจที่กำลังเกิดขึ้น และเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง ซึ่งหากทำแล้วได้รับความนิยม และสื่อสารต่อผู้ชมได้ง่าย จะได้รับ Engagement หรืออัตราการมีส่วนร่วมที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

สิ่งที่ธุรกิจจะได้รับ หากเล่น Real Time Content 

  1. เพิ่มการมองเห็นและเข้าถึงให้กับแบรนด์

หากว่าแบรนด์สามารถนำกระแส ณ ขณะนั้น มาต่อยอดให้เกิดคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยม จะช่วยเพิ่มโอกาสในการมองเห็น และเข้าถึงให้กับแบรนด์ ยิ่งเพิ่มความคิดสร้างสรรค์เข้าไปด้วยแล้ว จะช่วยสร้างให้เกิดความโดดเด่น และเป็นที่จดจำได้ง่าย

โดยขอแนะนำว่า ควรมีการโปรโมทขายแบบเนียนๆเข้าไปด้วย ซึ่งอาจจะไม่ได้ช่วยทำให่้เกิดยอดขายได้มากนัก แต่อย่างน้อยๆ หากคอนเทนต์ปัง สร้างการจดจำแน่นอนค่ะ

  1. ยอด Engagement เพิ่มขึ้น

การเล่นประเด็นที่สังคมกำลังให้ความสนใจ จะทำให้คอนเทนต์ของแบรนด์ได้รับความสนใจไปด้วย เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ หากแบรนด์นำไปเล่นได้ไว จะได้เปรียบผู้อื่นมากขึ้น สร้างการเพิ่มยอด Engagement ได้ไม่ยากเลยค่ะ

  1. เพิ่มความหลากหลายของคอนเทนต์

เพราะกระแสเป็นสิ่งที่เรากำหนดไม่ได้ Real-Time Content จึงสามารถต่อยอดให้เกิดคอนเทนต์ที่หลากหลายขึ้นได้ ในส่วนนี้จึงทำให้แบรนด์ได้ใช้ไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงมุมมองใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์โพสต์ใหม่ๆให้สนุกและน่าสนใจขึ้นอีกด้วย

  1. แบรนด์ตามทันกระแส

หากแบรนด์ให้ความสนใจในเรียลไทม์คอนเทนต์ อีกหนึ่งสิ่งที่ถูกมองมายังธุรกิจ คือ ธุรกิจเป็นผู้ทันกระแส และไม่ตกยุค มีความว่องไว ทันต่อสถานการณ์โลกนั่นเอง

  1. ผลตอบรับที่เพิ่มขึ้น

อย่างที่เกริ่นไว้แล้ว ว่าหากแบรนด์นำเรียลไทม์คอนเทนต์ ร่วมกับการใช้ไอเดียสุดครีเอตก็สามารถดึงดูดความสนใจในเรื่องราว ประเภทเดียวกันได้เป็นอย่างดี ถือเป็นการทำคอนเทนต์ที่ประหยัดงบโฆษณา ประหยัดเวลา แถมยังได้ผลตอบรับที่ดีมากๆอีกด้วยนะ

สิ่งที่ควรคำนึง หากต้องการเล่น Real Time Content

  1. ไม่ต้องเล่นทุกกระแส

หากแบรนด์สนใจที่จะเล่นเรียลไทม์คอนเทนต์ ควรให้ความสำคัญกับกระแสที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของแบรนด์ รวมถึงกระแสเชิงบวก มากกว่ากระแสด้านลบ หรือกระแสที่ไม่เกี่ยวข้อง

  1. หาความเชื่อมโยงกับแบรนด์

การเพิ่มไอเดีย โดยหาจุดเชื่อมโยงกับแบรนด์ ถือเป็นสิ่งที่ดูครีเอตมากขึ้น นอกจากคอนเทนต์จะปัง แบรนด์ยังเป็นที่น่าจดจำมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

  1. พิจารณาความเหมาะสม

ควรพิจารณาในความเหมาะสมในมุมของธุรกิจ, ความเหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมาย, ความเหมาะสมของเวลาและบริบทที่เล่น รวมถึงช่องทางในการสื่อสารด้วยเช่นกัน

  1. ไอเดียล้ำกว่าผู้อื่น

หากเราไม่ได้เป็นผู้บุกเบิก Real-Time Content นี้เป็นผู้แรก ควรทำให้แตกต่างจากผู้อื่น โชว์ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อฉายให้แบรนด์เด่นออกมา

  1. เช็กเรื่องลิขสิทธิ์ก่อนนำมาใช้

บางครั้งการนำรูปหรือวิดีโอมาเล่นต่อโดยที่ไม่ทันคิดว่าเจ้าของอนุญาตให้นำมาใช้ต่อหรือไม่  ยิ่งถ้าเป็นแบรนด์ที่ใช้เพื่อการโปรโมตที่นับเป็นการใช้เชิงพาณิชย์แล้ว หากไม่ขออนุญาต หรือไม่ทำให้ถูกต้องก่อนนำมาใช้ ถือว่ามีความผิดเต็มๆ 

Real-Time Content ถือเป็นสิ่งที่น่าเล่นก็จริง ทั้งนี้ก่อนเล่น แบรนด์ควรพิจารณา ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้น อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในอนาคตได้ค่ะ

หรือหากใครกำลังมองหา Digital Marketing Agency อยู่ MarketingGuru มีบริการการตลาดออนไลน์แบบครบวงจรเลยน้า หากสนใจ อย่าลืมทักทายเข้ามานะคะ

ติดต่อ MarketingGuru

Inbox Facebook: m.me/marketingguru.io

Line: @marketingguru

โทร 02-381-9045

ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง

ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing) คืออะไร

ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง

ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing) คำคุ้นหูของหลายๆคนในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการตลาดออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยใช้บทบาทของเทคโนโลยี ที่มีความสำคัญของชีวิตมนุษย์ เข้ามาใช้ประโยชน์ในการสร้างรายได้เชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น

หากพูดถึง ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing)แน่นอนว่า มีหลากหลายช่องทางในการทำ ด้วยโลกออนไลน์นั้นถือเป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ ที่มีหลากหลายแพลตฟอร์มเล็กๆย่อยออกไป ทำให้ธุรกิจสามารถเลือกแพลตฟอร์มที่เข้ากับกลุ่มเป้าหมายของตนได้ แต่ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเลือกช่องทางทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้งนั้น เราต้องเข้าใจก่อนว่า Digital Marketing คืออะไร และมีจุดประสงค์อะไรกันก่อนค่ะ 

ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing) คืออะไร ?

คือการทำการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ผ่าน Digital Platform ต่างๆ หรือที่เรียกว่า การตลาดออนไลน์ โดยมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อกลางในการส่งสารถึงผู้บริโภค

ซึ่ง Digital Marketing สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายช่องทางบนโลกออนไลน์ เช่น Search Engine จาก Google หรือ Website ต่างๆ, E-mail, Social Media Platform เช่น Facebook, Instagram, Twitter และช่องทางต่างๆอีกมายมาย 

ในยุคปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตผู้คนมากขึ้น ส่งผลให้การทำการตลาดแบบเดิมอาจจะไม่ตอบโจทย์ ดังนั้น การทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง จึงเป็นตัวเลือกที่จะทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ทำไมถึงต้องใช้ Digital Marketing ในการทำธุรกิจ?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ว่าเทคโนโลยีส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ โลกออนไลน์ จึงเป็นพื้นที่ที่นักการตลาด สามารถใช้ประโยชน์ในการโฆษณาและสร้างรายได้ให้กับธุรกิจได้ด้วยเช่นกัน

เพราะในแต่ละวัน เรามักมีเวลาให้กับโลกออนไลน์กันอยู่ตลอด ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย และดึงดูดให้เกิดการซื้อขายเป็นลำดับต่อไปนั่นเอง

Digital Marketing จึงเป็นรูปแบบการตลาดที่ทุกธุรกิจควรมี ยิ่งอยู่ในสถานการณ์ที่การซื้อขายแบบหน้าร้านมีปัญหาแล้วนั้น ยิ่งส่งผลให้ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง เป็นการทำการตลาดที่ตรงจุด และได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง 

Digital Marketing สามารถทำได้อย่างไรบ้าง ?

เพราะโลกออนไลน์มีแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันหลากหลาย ทำให้ช่องทางในการทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้งมีเยอะแยะมากมายเช่นกัน ซึ่งไม่สามารถกล่าวได้หมดในบทความนี้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างการทำ Digital Marketing บางช่องทาง มาฝากกันค่ะ

1. Paid Search คือการทำ Digital Marketing บนช่องทางค้นหาใน Google หรือที่เรียกว่า PPC (Pay-Per-Click) ซึ่งเป็นการทำโฆษณาที่จ่ายเงินให้กับเว็บไซต์หรือโพสต์ของเรา ให้ขึ้นอยู่อันดับบนสุดของหน้า SERP หรือ Search Engine Result Page หลังจากมีผู้ที่ค้นหา Keyword ที่มีความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์หรือคอนเทนต์ที่อยู่ในเว็บไซต์ Serch Engine จะคัดเลือกเว็บไซต์ที่ทำการจ่ายเงินขึ้นมา (โดยในหน้า SERP จะมีคำว่า ads หรือโฆษณานำหน้า) โดยทาง Search Engine จะะเรียกเก็บเงินผู้ลงโฆษณาตามจำนวน Click ที่เพิ่มจากการทำ Digital Marketing ตรงนี้

2. SEO คือ Search Engine Optimization หรือการทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง ที่จะดันเว็บไซต์และบทความของเราไปยังหน้าแรกของ Search Engine หลังจากมีการค้นหา Keyword หรือ Voice Search ที่ตรงกับเนื้อหาในเว็บไซต์หรือบทความของเรา โดยการ Optimize คือการปรับปรุงเว็บไซต์ หรือคอนเทนต์ให้ตรงกับการค้นหา และมีคุณภาพต่อการค้นหาของ Search Engine 

โดยการทำ SEO ถือเป็นการทำ Digital Marketing ที่ไม่เสียเงิน แต่จะต้องใช้เวลาในการทำ เพื่อให้ Search Engine พิจารณาคุณภาพของคอนเทนต์และเว็บไซต์นั่นเอง

3. Content Marketing คือการทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง ที่ถือเป็นสารที่แบรนด์หรือธุรกิจต้องการส่งต่อและสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้า สามารถอยู่ในหลากหลายรูปแบบ เช่น Blog, Social post, ข้อความใน E-mail รวมไปถึงสื่อต่างๆทั้ง วิดีโอ, รูปภาพ และ Infographic 

โดยในการทำ Content Marketing ควรมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน ว่าทำคอนเทนต์นี้เพื่ออะไร เช่น ให้ความรู้, บอกเล่าเรื่องราว, ขายสินค้า หรือให้ความบันเทิง เป็นต้น

เช่น เราต้องการทำ Digital Marketing ในรูปแบบของคอนเทนต์ โดยการเขียน Blog ใน Website ซึ่งเขียนเพื่อให้ข้อมูลกับผู้ที่ค้นหาใน Google ทำให้เมื่อมีการค้นหา จะยิ่งเพิ่ม Traffic นั่นเอง

Content Marketing ถือเป็นหัวใจหลักของการทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง ตามประโยคที่เราเคยได้ยินบ่อยๆว่า ‘Content is king’

4. Social Media Marketing ถือเป็นศูนย์กลางหลัก ในการทำ Digital Marketing เพราะเป็นศูนย์กลางในการส่งสารระหว่างแบรนด์และลูกค้าทั้งใหม่และเก่า

โดยช่องทางการทำ Social Media Marketing เช่น FacebookTwitter, Instagram, Tik Tok รวมถึงอีกหลากหลายช่องทาง เพื่อให้ธุรกิจสามารถเลือกและทำการตลาดออนไลน์ให้เข้าถึงสินค้าและบริการได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหากเรารู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเรานิยมใช้แพลตฟอร์มไหน เราจะสามารถใช้ฟีเจอร์และคุณสมบัติของ Social Media นั้นๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์

5. Email Marketing เรียกได้ว่า เป็นวิธีการทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง ในตำนานเลยก็ว่าได้ โดยเป็นการส่งจดหมายผ่านทาง Email โดยจ้าของธุรกิจสามารถควบคุมจัดการเนื้อหาคอนเทนต์ต่างๆได้เต็มที่ และถือเป็นการทำการตลาดแบบอัตโนมัติได้อีกด้วย

การทำ Digital Marketing ช่องทางนี้ ถือเป็นวิธีการแบบดั้งเดิม ที่ยังคงมีการใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหนึ่งใน B2B Marketing นั่นเอง

Email Marketing คือช่องทางในการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญกับลูกค้า ทั้งการส่งโฆษณาต่างๆ, โปรโมชัน และเป็นการขยาย Traffic ให้กับช่องทางออนไลน์ต่างๆของธุรกิจ เช่น การแชร์บทความ, แชร์ Blog สามารถทำได้ด้วยการแนบลิงก์ แต่การทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง ช่องทางนี้ หากเราใส่เนื้อหาที่น่าเบื่อและไม่น่าสนใจ อาจจะทำให้กลุ่มลูกค้าเกิดความรำคาญใจได้ ดังนั้น การคำนึงถึงข้อมูลที่จะใส่ในอีเมล ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกันค่ะ

6. Mobile Marketing หลายๆคนอาจจะไม่คุ้นชินกับคำนี้ ซึ่งถือเป็นการทำ Digital Marketing ผ่านโทรศัพท์มือถือ  ผ่านการส่ง SMS หรือยิงโฆษณาในแอปพลิเคชันของแบรนด์ และหากต้องการทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้งช่องทางนี้นั้น ควรทำลิงก์แนบไปยัง Platform อื่นๆของแบรนด์เพื่อให้ลูกค้าเจอคอนเทนต์อื่นๆเพิ่มเติม

ข้อดีของการทำ Digital Marketing

  1. ทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง 

ซึ่งเป็นการทำการตลาดออนไลน์ ที่เราต้องจ่ายเงินค่าโฆษณา ซึ่งงบประมาณนั้น สามารถควบคุมให้อยู่ในงบที่เราต้องการ รวมถึงควบคุมประสิทธิภาพจากโฆษณานั้นๆได้ด้วยเช่นกัน

  1. ทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้แบบไม่ต้องเดา

การทำการตลาดแบบออฟไลน์ อาจจะยากในการตรวจสอบ แต่หากเป็น Digital Marketing แล้วนั้น ถือเป็นการใช้เทคโนโลยี ที่ส่งผลให้สามารถเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าได้ง่ายและสะดวก รวมถึงสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ด้วยเช่นกัน

  1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและลูกค้า ผ่านการทำ Digital Marketing

เราสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านแพลตฟอร์ม Social Media หรือช่องทางออนไลน์ รวมทั้งสามารถระบุตำแหน่งกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการตลาดได้อย่างแม่นยำ วิเคราะห์ได้ว่าผู้ที่เข้ามาชม มาจากช่องทางใด และพื้นที่ไหน

  1. เจาะจงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการได้ 

กลุ่มเป้าหมาย ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อธุรกิจ ซึ่งการทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง จะสามารถระบุกลุ่มที่เราต้องการให้เห็นชุดโฆษณาได้อย่างชัดเจน ว่าเป็นเพศใด, ช่วงอายุเท่าใด, มีความสนใจแบบไหน, อยู่ในภูมิภาคใด เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ง่ายต่อแบรนด์เป็นอย่างมาก

  1. เข้าใจลูกค้าจากการวิเคราะห์ Customer Journey

การทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง สามารถสร้างและติดตาม Customer Journey ของลูกค้าได้ โดยผ่านจากเว็บไซต์ที่ค้นหาด้วย Keyword หากเรามีการเก็บข้อมูลในส่วนนี้ จะทำให้เราทำการตลาดที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ง่ายขึ้นอีกด้วย 

ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง ไม่เพียงเป็นแค่ช่องทางในการขายสินค้าออนไลน์ แต่ยังเป็นช่องทางในการสร้างการรับรู้แบรนด์, ประขาสัมพันธ์สินค้าและบริการ, สร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า, ติดตามกระแสและความต้องการที่เปลี่ยนไปตลอดของลูกค้า รวมถึงนำข้อมูลไปวิเคราะห์ให้เกิดการสร้างสรรค์งาน ที่ทำให้เกิดรายได้และการซื้อขายในอนาคตอีกด้วย 

🧡 ติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษา ฟรี! 🧡

👉🏻 Inbox Facebook: m.me/marketingguru.io

👉🏻 โทร 02-381-9045

👉🏻 Line คลิก > https://page.line.me/marketingguru

หรือแอด Line : @marketingguru

👉🏻 E-mail: contact@marketingguru.io

Google Analytic in digital marketing

วิเคราะห์ Digital Marketing ด้วย Google Analytic

Google Analytic in digital marketing

การทำ Digital Marketing หรือการตลาดออนไลน์ ถือเป็นวิธีที่หลายๆธุรกิจหันมาใช้ ยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้วิธีนี้ ได้รับความนิยมมากขึ้นหลายเท่าตัว ซึ่งจริงๆแล้วนั้น การทำการตลาดออนไลน์ มีเครื่องมือหลากหลายให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละ Platform รวมถึงตามความเหมาะสมของรูปแบบธุรกิจนั่นเองค่ะ

และหากธุรกิจของคุณ เป็นการทำการตลาดออนไลน์ หรือทำแคมเปญโฆษณาผ่านเว็บไซต์ สุดยอดตัวช่วยที่อยากให้แนะนำให้ใช้ คือ ‘Google Analytic’ ค่ะ ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงความเจ๋งของเครื่องมือนี้ ว่าทำไมถึงต้องมี ในการทำ Digital Marketing

Google Analytic คืออะไร

เครื่องมือในการวิเคราะห์ และเก็บข้อมูลสถิติของการทำการตลาดออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ โดยจะแสดงข้อมูลต่างๆของคนที่เข้ามาใช้งานในเว็บไซต์ เช่น เพศ, อายุ, อุปกรณ์ที่ใช้เข้าเว็บไซต์ และมาจากช่องทางไหน เช่น Google หรือ Facebook เพื่อให้นักการตลาดและแต่ละธุรกิจนำข้อมูลส่วนนี้มาใช้วิเคราะห์ และกำหนดกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสม อีกทั้งยังมีความแม่นยำสูง ที่สำคัญ ยังใช้งานได้ฟรีอีกด้วยค่ะ 

โดยฟีเจอร์ตัววัดผลของ Google Analytic สามารถแบ่งได้ดังนี้

  • Audience
  • Acquisition 
  • Behavior
  • Conversion

ก่อนจะทำการเข้าสู่รายละเอียดในเชิงลึก จะขอนำภาพจอแสดงผลของ Google Analytic เพื่อให้เห็นภาพรวมมากขึ้น ตามลักษณะนี้ค่ะ 

Google Analytics จะแสดงตัววัดผลไว้ทางด้านขวา และแบ่งสัดส่วนแต่ละตัวเลือกไว้ด้านซ้าย ได้แก่

  • Realtime: แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์ในขณะนั้น มีคนเข้าชมเท่าไร 
  • Audience: แสดงภาพรวมของจำนวนผู้เข้าชม รวมไปถึงข้อมูลต่างๆ เช่น ช่วงอายุ, ความสนใจใ, อาศัยในพื้นที่ไหน รวมไปถึงระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ที่ใช้ด้วยเช่นกัน
  • Acquisition: แสดงข้อมูลแห่งที่มาของผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ (Traffic) ว่ามาจากช่องทาง Organic Search (SEO), Paid Search (PPC) หรือ Facebook 
  • Behavior: แสดงผลพฤติกรรมและสถิติของผู้เข้าชมเว็บไซต์ ว่าเข้าชมหน้าไหนมากที่สุด, มีการคลิกไปหน้าอื่นหรือไม่, ออกจากหน้าไหนเร็วและมากที่สุด และใช้เวลาอยู่หน้าไหนมากที่สุด 
  • Conversion: เป็นหมวดหมู่ในการกำหนดเป้าหมาย โดยจะแสดงผลว่าเกิด Conversion สู่กลุ่มเป้าหมายนั้นเท่าไร โดยการตั้ง Conversion มีหลากหลายรูปแบบ เช่น การกดซื้อสินค้า, กดติตตาม, อ่านบทความ, กรอกแบบฟอร์ม ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละธุรกิจด้วยเช่นกัน 

เมื่อทราบถึงรายละเอียดในภาพรวมแล้ว ต่อไปจะขอเข้าสู่รายละเอียดในเชิงลึกของแต่ละตัวชี้วัดกันค่ะ 

ตัววัดผลของ Google Analytic

  1. Audience

โดยการวัดผลจาก Audience นั้น จะเกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งจะแสดงข้อมูลต่างๆ ได้แก่ Demographics (ข้อมูลทั่วไป), Interest (ความสนใจ), Behaviors (พฤติกรรม) รวมไปถึงเบราว์เซอร์และเครือข่ายที่ใช้เข้าสู่เว็บไซต์ของเรา 

ภาพแสดงผล Category ‘Audience’

โดยในหมวดหมู่ของ Audience จะแบ่งตัววัดผลแบบย่อยได้ดังนี้

1.1 จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ (Number of Visitors)

ในฟังก์ชันนี้ จะแสดงจำนวนการเข้าชม, ผู้เข้าชม ซึ่งสามารถวิเคราะห์ความเป็นที่นิยมของเว็บไซตฺ และความพึงพอใจของกลุ่มผู้เข้าชมได้

ซึ่งเราสามารถดูจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ ในประเภท Audience หมวด Behavior หัวข้อ Frequency & Recency ตามภาพที่แสดงด้านล่างค่ะ 

ภาพแสดงผลในหมวด ‘Frequency & Recency’ ใน Google Analytics

ซึ่งจากผลลัพธ์ตรงนี้ ทำให้เราได้รู้ว่า

กรอบที่ 1: จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ในช่วงเวลาที่กำหนด (Session)

ซึ่งจากภาพ มีจำนวนการเข้าชม 101,132 ครั้ง (ในช่วง 7-13 พ.ค. 2019)

กรอบที่ 2: จำนวนการเปิดดูเพจ (Page Views)

ซึ่งจากภาพ จำนวนการเปิดดูเพจทั้งหมด 310,090 ครั้ง (ในช่วง 7-13 พ.ค. 2019)

ข้อสังเกต: Page View มีมากกว่าจำนวน Session นั่นเพราะการเข้ามาเว็บไซต์ 1 ครั้ง อาจจะดูมากกว่า 1 เพจ นั่นเอง

กรอบที่ 3: หากแบ่งตามจำนวนครั้งของการเข้าชมแล้ว (Count of Session)

จะแสดงจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์และ Page view เป็นเท่าไรจากทั้งหมด ซึ่งจากภาพ 

  • มีจำนวนการเข้าชม 68,680 ครั้งจากทั้งหมด โดยมาจากการเข้าชมเว็บไซต์แค่ครั้งเดียว
  • มีจำนวนการเปิดอ่านเพจ 172,850 ครั้งจากทั้งหมด โดยมาจากการเข้าชมเว็บไซต์แค่ครั้งเดียว

โดยจำนวนการเช้าชมเว็บไซต์ จะนิยมนำมาเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเดือน เพื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้เข้าชมของเดือนนี้และเดือนก่อนหน้า ซึ่งสามารถทำให้วิเคราะห์ได้ว่า สาเหตุที่จำนวนการเข้าชมเพิ่มหรือลดนั้นเป็นเพราะอะไร และนำข้อมูลส่วนนี้ไปปรับปรุงในขั้นตอนต่อไปค่ะ 

1.2 อัตราส่วนของผู้เข้าขมเว็บไซต์ใหม่และเก่า (Ratio of new/returning visitors)

ในส่วนนี้ Google Analytics จะใช้ Cookies ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ในการนับ User ทำให้สามารถแยกได้ว่า User นี้เคยเข้ามาแล้วหรือไม่ ซึ่งเราสามารถดูจำนวนในส่วนนี้ผ่าน Audience หมวด Behavior หัวข้อ New vs Returning ได้ ตามรูปด้านล่างนี้ค่ะ

ภาพแสดงผลในหมวด ‘New vs Returning’ ใน Google Analytics

ซึ่งจากภาพจะเห็นได้ว่า

  • กรอบที่ 1: กำหนดช่วงเวลา 7-13 พ.ค. 2019
  • กรอบที่ 2: แสดงผู้เข้าชมใหม่ จำนวน 68,680 คน และมีจำนวนผู้เข้าชมเก่า 32,452 คน 

แม้ว่าการใช้ Cookies ในการนับจำนวนผู้เข้าชม อาจจะไม่ได้แม่นยำ 100% เนื่องจากผู้ใช้สามารถลบคุกกี้แล้วทำการเข้าใหม่ หรือคุกกี้อาจหมดอายุ รวมไปถึงผู้ใช้อาจจะใช้เบราว์เซอร์อื่น แต่ให้ยึดถือผลลัพธ์แบบภาพรวมมากกว่าจำนวนที่แน่นอนดีกว่าค่ะ เพราะมีความสำคัญกว่าอย่างเห็นได้ชัดเลย

ข้อสังเกต

  • ถ้าเว็บไซต์เรามีจำนวนผู้กลับมาเยี่ยมชมเว็บ (Returning Visitors) เยอะ นั่นแปลว่าเว็บไซต์เราน่าสนใจ
  • ถ้าเว็บไซต์เรามีจำนวน New Visitors มากกว่า Returing Visitors แสดงว่า แคมเปญของเราอาจจะกำลังได้ผลตอบรับที่ดี เพราะทำแล้วเกิดการรับรู้ (Awareness) ไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ หรืออาจจะเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงว่า เรามีการจัดอันดับเว็บไซต์ที่ดี จึงมีคนใหม่ๆค้นหาและพบเห็นเราในอันดับแรกๆของ Search Engine
  • เราควรจะมีวัตถุประสงค์ในการทำแคมเปญ เพื่อกำหนดอัตราส่วนของผู้เข้าชมใหม่และเก่า และดำเนินการให้เป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หากเราทำแคมเปญเพื่อให้ลูกค้าใหม่มาลงทะเบียน ก็ควรให้อัตราส่วนของ New Visitor มากกว่า Returning Visitor เป็นต้นค่ะ

นอกจากนี้ เรายังสามารถเปรียบเทียบช่องทางที่ดึงคนเข้ามายังเว็บทั้งรายใหม่และเก่า เพื่อดูว่า Traffic มาจากช่องทางไหนมากที่สุด ผ่านแถบ ‘Secondary Dimension’ แล้วเลือก ‘Source’ ดังรูปด้านล่างค่ะ

หน้าจอแสดงผล การเลือกกดแสดงลัพธ์แบบแบ่งตาม ‘Source’


ภาพแสดงผลจำนวนผู้เข้าชมทั้งใหม่และเก่าตามแหล่งที่มา (Source)

1.3 ระยะเวลาการเข้าชมเว็บไซต์ (Session Duration)

ใต้ตัวเลข Audience หมวด Behavior หัวข้อ Engagement เราจะเห็นว่ามีผู้ชมเว็บไซต์เรานานแค่ไหน


ภาพแสดงผลหมวด ‘Engagement’ ใน Google Analytics

ในส่วนนี้ Google Analytics จะแบ่งกลุ่มตามระยะเวลาการเข้าชมเว็บไซต์ (Session Duration) โดยเริ่มจาก 0-10 วินาที ซึ่งในจำนวนนี้ จะรวมผู้ที่เข้ามาแล้วออกจากเว็บทันทีด้วยเช่นกัน (Bounce)

ซึ่งเราสามารถกรองผู้ที่เข้ามาแล้วออกจากเว็บออกได้ โดยทำการคลิกที่ + Add Segment และเลือก Non-Bounce Session ดังรูปค่ะ 


ภาพแสดงผล ตัวเลือก ‘+Add Segment’


ภาพแสดงผลตัวเลือก ‘Non-bounce Sessions’

หลังจากนั้น หน้าจอจะแสดงผลลัพธ์จำนวนการเข้าชม ที่คัดจำนวน Bounces ออกให้ ซึ่งแสดงในแถบสีส้ม ซึ่งจะเห็นว่าจำนวนการ Bounce (ผลต่างของแถบสีฟ้าและส้ม) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ชมที่อยู่ในหน้าเว็บนานเพียง 0-10 วินาที ดังรูปค่ะ 

ภาพแสดงผลลัพธ์จากการคลิกตัวเลือก ‘Non-bounce Sessions’

ซึ่งสรุปให้เข้าใจอีกครั้งก็คือ จำนวนการรับชมในช่วง 0-10 วินาที มีคนเข้ามาแล้ว Non-Bounce ทั้งหมด 14,613 คน และมีจำนวนคนที่ Bounce ทั้งหมด 65,569-14,613 ซึ่งเท่ากับ 50,956 คน นั่นเองค่ะ

โดยผลลัพธ์ของการวัดผล

  • หากช่วงเวลาการเข้าชมเว็บไซต์นาน แสดงว่าเว็บไซต์เราน่าสนใจ 
  • แต่ถ้าระยะเวลาการเข้าชมยังน้อยอยู่ เราจะต้องทำการวิเคราะห์ว่าเนื้อแบบไหนถึงจะน่าสนใจ เพื่อทำให้ผู้ที่เข้าชมอยู่ในเว็บไซต์เรานานขึ้น

1.4 เปอร์เซ็นต์การเข้าชมเว็บไซต์เพียงหน้าเดียวแล้วกดออกทันที (Bounce Rate)

Bounce Rate คือตัววัดผลที่แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่เข้าแล้วออกจากเว็บไซต์ หลังจากเข้ามาอ่านหรือรับชมได้เพียงหน้าเดียวเท่านั้น รวมถึงยังเป็นตัวชี้วัดของ Search Engine เพราะถ้าผู้ชมเลือกที่จะออกจากหน้านั้นทีที หมายความว่าพวกเขาคลิกเข้ามาแล้วไม่ได้พบกับสิ่งที่ต้องการ ซึ่งแน่นอนว่า ส่งผลเสียต่อ Search Engine และการจัดอันดับ SEO อีกด้วยค่ะ

หากจำนวน Bounce Rate สูง อาจจะเกิดจากสาเหตุดังนี้

  • การออกแบบหน้าเว็บไซต์ไม่ดี
  • การใช้งานที่ยากเกินไป
  • ผู้ใช้งานกดเข้ามา แล้วไม่พบข้อมูลที่ต้องการ
  • ผิดพลาดทางเทคนิค เช่น เว็บไซต์โหลดช้าเกินไป

แต่การที่กดเข้ามาดูเพียงครั้งเดียวแล้วออกจากเว็บไซต์ ไม่ได้มีความหมายเชิงลบเสมอไป นั่นอาจจะแปลได้อีกมุมหนึ่ง คือพวกเขาได้ข้อมูลที่ต้องการแล้ว จึงกดออกจากเพจอย่างรวดเร็ว ซึ่งในกรณีนี้เราควรจะวัดผลจากเวลาเฉลี่ยที่อยู่บนหน้าเว็บ จะแม่นยำและถูกต้องกว่า อย่างไรก็ตาม การที่เว็บไซต์มี Bounce Rate สูงบ่อยๆเสมอๆ ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่ดีเท่าไรนัก เราจึงทำการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไข จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ

  1. Acquisition 

หรือที่เกริ่นไปข้างต้น ว่าส่วนนี้เกี่ยวข้องกับแหล่งที่มาของผู้เข้าชมเว็บไซต์ (Traffic)

ภาพแสดงผล Category ‘Acquisition’

2.1 จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ ที่มาจากการค้นหาใน Google ที่ไม่ใช่จากโฆษณา (Number of User from Organic SERPs)

ใน Acquisition หัวข้อ Overview เราจะทราบถึงจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์จาก Google โดยไม่ใช่โฆษณา หรือที่เรียกว่าจาก Organic Search ตามรูปด้านล่างค่ะ 


ภาพแสดงผลหมวด Overviews ใน Category ‘Acquisition’ 

ซึ่งหากดูจากรูป จะเห็นว่ามีจำนวนผู้เข้าชมที่มาจาก Organic Search มากที่สุด โดยมี 55,896 จากทั้งหมด 101,132 Sessions เป็นต้นค่ะ

2.2 จำนวนการเข้าชมในแต่ละแคมเปญ (Number of Newsletter Opens)

ใน Acquisition หัวข้อ Campaigns เราสามารถทราบถึงผลลัพธ์ของแคมเปญทั้งหมดได้ ไม่ใช่แค่เพียงแคมเปญของ Google Ads เท่านั้น

ภาพแสดงผลหมวด Campaigns ใน Category ‘Acquisition’ 

ยกตัวอย่าง เราสามารถติดตามแคมเปญที่สนใจ ด้วยการแทร็ก URLs และติดตามผลใน Google Analytics ค่ะ

และหากอยากทราบถึงภาพรวมของของจำนวนที่มาการเข้าชม ทำได้โดยคลิก All Traffic และเข้าไปที่ Source/Medium โดยจะแสดงผลตามรูปค่ะ 


ภาพแสดงผลจำนวนการเข้าชม (Traffic) ตามแต่ละช่องทาง 

  1. Behavior 

โดยจะเป็นหมวดหมู่ที่แสดงผลลัพธ์พฤติกรรมผู้เข้าชมในแต่ละเพจของเว็บไซต์ค่ะ 


ภาพแสดงผล Category ‘Behavior’ 

3.1 ค่าเฉลี่ยความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ (Average Page Speed)

โดยสามารถดูผลลัพธ์ส่วนนี้ได้ใน Behavior หัวข้อ Site Speed


ภาพแสดงผลหมวด Site Speed ใน Category ‘Behavior’ 

ในส่วนนี้นั้น หากผลลัพธ์แสดงออกมาว่า ใช้เวลาในการโหลดหน้าเว็บไซต์นาน จะส่งผลเสียต่อทั้งผู้เข้าชมเว็บ (Users) และ Search Engine 

  • ส่งผลเสียต่อ User: หากผู้เข้าชมต้องรอโหลดหน้าเว็บนาน อาจจะส่งผลให้กดออกจากเว็บของเรา และไปยังเว็บของคู่แข่งแทน
  • ส่งผลเสียต่อ Search Engine: หรือส่งผลต่ออันดับของเว็บไซต์ในหน้าแรกของ Google ทำให้จำนวนการเข้าชมเว็บน้อลง

โดยเราควรทำให้เวลาในการโหลดหน้าเว็บน้อยที่สุด นอกจาก User และ Search Engine แล้ว ยังคงส่งผลต่อปัจจัยย่อยอื่นๆ เช่น Bounce Rate เพราะเมื่อเว็บโหลดช้า อาจจะทำให้ผู้เข้าชมกดออกจากเว็บไซต์ได้ทันที โดยไม่คลิกไปยังเพจอื่นๆในเว็บนั่นเองค่ะ 

3.2 เวลาเฉลี่ยที่ผู้เข้าชมอยู่บนหน้าเพจนั้นๆบนเว็บไซต์ (Average Time on Page)

ซึ่งสามารถดูได้ โดยเข้าไปที่ Behavior หมวด Website Content หัวข้อ All Page ที่แสดงดังรูปค่ะ 


ภาพแสดงผลค่า Avg. Time on Page ในหัวเรื่อง Site Content 

เวลาเฉลี่ยที่ผู้เข้าชมอยู่ในเว็บ สามารถประเมินได้ ว่าคอนเทนต์ของเรานั้นตรงกับความสนใจและความต้องการของพวกเขาหรือไม่ หากคอนเทนต์ไหนที่มีค่าเฉลี่ยในส่วนนี้นาน แสดงว่าตรงกับความต้องการของผู้เข้าชม ในทางกลับกัน หากคอนเทนต์ไหนมีค่าเฉลี่ยเวลาที่รวดเร็ว ก็แสดงว่าคอนเทนต์ของเรายังไม่ตรงใจกลุ่มผู้ชม โดยข้อมูลตรงส่วนนี้นั้น เราสามารถวิเคราะห์ต่อไปได้ว่าคอนเทนต์แบบไหนที่ถูกใจกลุ่มผู้ชมนั่นเองค่ะ 

  1. Conversion 

จะเป็นการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของวัตถุประสงค์ในแต่ละแคมเปญว่าเป็นเช่นไร 


ภาพแสดงผล Category ‘Conversion’ 

4.1 Conversion Rate

ใน Conversion เราสามารถดูค่า Conversion Rate ที่กำหนดไว้ ได้แก่

  • การกดซื้อสินค้า
  • การกดติดตามใหม่
  • การอ่านบทความ
  • การกรอกแบบฟอร์ม

โดยจากตัวอย่างที่ยกมา จะเป็นค่า Conversion ทั้งหมด เพราะเป็นผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นแค่การซื้อขายเท่านั้น 

ขั้นตอนการตั้งค่าแบบคร่าวๆ

  • กำหนดเป้าหมายไว้ใน Google Analytics โดยคลิกที่ Admin (รูปฟันเฟือง)
  • เข้าไปในส่วนของ Property Setting ในหัวข้อ Goals
  • คลิกที่ New Goals เพื่อกำหนดเป้าหมายใหม่ได้ ตามภาพด้านล่างค่ะ 


ผลลัพธ์หรือ Conversion ที่เกิดขึ้นของเป้าหมายที่เราได้ตั้งเอาไว้ค่ะ

โดยจากรูป ตัวอย่าง Goal ที่ตั้งไว้คือ ebook Downloads (Goal 4 Completions) และ FREE Registration Complete (Goal 9 Completions) เป็นต้น 

ซึ่งค่า Conversion จากตัวอย่าง เป็นดังนี้ค่ะ

  • Goal: ดาวน์โหลด Ebook [ebook Downloads (Goal 4 Completions)]
  • Conversion: 0 (ยังไม่มีการดาวน์โหลด Ebook เกิดขึ้น)
  • Goal: กดปุ่มลงทะเบียนฟรี [FREE Registration Complete (Goal 9 Completions)]
  • Conversion: 10,325 (มีการกดลงทะเบียนฟรี 10,325 ครั้ง)

ขอบคุณที่มา: 

https://stepstraining.co/analytics/9-kpis-web-google-analytics

https://en.ryte.com/magazine/google-analytics-these-are-the-10-most-important-kpis-for-your-website

และทั้งหมดนี้คือข้อมูลเชิงลึกของ Google Analytic ซึ่งเป็นรายละเอียดของตัววัดผลแคมเปญและคอนเทนต์บนเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงผลลัพธ์และคุณภาพ โดยวัดจากทั้งจำนวนและพฤติกรรมของผู้ที่เข้าชม โดยทั้งหมดนี้นั้น ส่งผลต่อเว็บไซต์โดยตรง รวมไปถึงการจัดอันดับหน้าแรกของ Google (SEO) ด้วยเช่นกัน ดังนั้น Google Analytic จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ ที่เรียกได้ว่า ธุรกิจควรมีไว้อย่างยิ่งเลยค่ะ

และด้วยสถานการณ์ของการแพร่ระบาดเชื้อ Covid-19 แบบนี้ ทำให้ Digital Marketing เป็นที่นิยมในหมู่ธุรกิจมากขึ้น หากอยากมี Digital Marketing Agency ในการทำการตลาดออนไลน์ รวมไปถึงการดูแล Digital Marketing ในวิธีการอื่นๆนอกเหนือจาก Google Analytic แล้วนั้น MarketingGuru ยินดีช่วยเหลือและพร้อมให้บริการนะคะ 

ติดต่อ MarketingGuru

Inbox Facebook: m.me/marketingguru.io

Line: @marketingguru

โทร 02-381-9045

MG-BLOG-AUG-3

หลักการทำ Instagram Ads ผ่าน IG Story

เมื่อพูดถึง Social Media ที่ได้รับความนิยมในส่วนของการอัปเดตชีวิตประจำวัน หนึ่งในชื่อที่ทุกคนต้องนึกถึงจะต้องมี ‘Instagram’ แน่นอน ด้วยความโดดเด่นในการเป็นช่องทางในการสร้างคอนเทนต์รูปแบบของรูปภาพ รวมไปถึงฟีเจอร์ที่ได้รับความนิยมอย่าง IG Story ที่หลายๆคนมักใช้ในการอัปเดตเรื่องราว, แชร์สิ่งที่น่าสนใจ รวมไปถึงการทำโพลหรือ Live สด ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้แหละค่ะ ที่ต้องบอกว่า สามารถประยุกต์นำมาเป็นช่องทางการตลาดออนไลน์ของเหล่าธุรกิจได้ แถมยังทำได้ไม่ยากด้วยนะ 

หลายๆคนย่อมทราบกันดีอยู่แล้วว่าช่องทางนี้ ก็สามารถทำการโฆษณา Instagram ได้ แล้วทราบกันอีกไหมคะ ว่าเจ้า IG Story ก็สามารถสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า ไม่แพ้การใช้ Instagram ads เลยค่ะ วันนี้ MarketingGuru จะขอนำไอเดียในการสร้างคอนเทนต์เรียกผู้ติดตาม ผ่าน IG Story มาฝากทุกคนกันค่ะ แอบบอกว่าช่องทางนี้ นอกจากจะง่ายแล้ว ยังสนุกและไม่ยากด้วยนะ

ก่อนจะเข้าสู่ไอเดียในการทำ ขอแวะพามาทำความรู้จักกับ IG Story กันก่อนค่ะ

IG Story 

IG Story คือฟีเจอร์ของ Instagram ที่ทำให้เราได้อัปเดตเรื่องราวต่างๆได้แบบ Real time ทั้งรูปภาพ, วิดีโอ, Poll, Q&A โดยมีลูกเล่นต่างๆมากมาย เช่น Sticker, Gif, Filter ถือเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ได้รับความนิยมมากเลยทีเดียว

หลักการในการทำสร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจ ผ่าน IG Story ที่ธุรกิจต้องรู้ 

  1. เก็บความคิดเห็นลูกค้าผ่าน Poll / Q&A

ความคิดเห็นและคำติชมของลูกค้า มีความสำคัญต่อการพัฒนาปรับปรุงธุรกิจ ทั้งความต้องการ ความสนใจ และข้อผิดพลาดที่ลูกค้ามีต่อธุรกิจนั้นๆ

IG Story มีลูกเล่นในการสร้าง Poll และ Q&A ที่ธุรกิจสามารถสอบถามหรือให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็น นอกจากจะได้คอมเมนต์จากลูกค้าแล้ว ในฟีเจอร์นี้ ธุรกิจเองก็ยังสามารถแอบแทรกการขาย ด้วยการใส่รูปพื้นหลังเป็นภาพสินค้าก็ได้ด้วยนะ

  1. เก็บรวบรวม Email เพื่อใช้ในการ Remarketing

หากบัญชี Instagram ของคุณ มีผู้ติดตามมากกว่า 10K Instgram จะอนุญาตให้ทำการแทรกลิงก์ใน IG Story เพื่อนำพาลูกค้าไปยังลิงก์ที่คุณต้องการ

ซึ่งจากฟีเจอร์นี้นั้น ธุรกิจสามารถนำมาประยุกต์ได้หลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือการนำลูกค้าไปสู่การลงทะเบียนหรือกรอกข้อมูลต่างๆ และยังสามารถแทรกลิงก์เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆได้อีกหลากหลาย ตามความต้องการของแต่ละธุรกิจได้เลยค่ะ 

  1. แนบ Location เพื่อให้ลูกค้าทราบถึงสถานที่จัดกิจกรรมและที่ตั้งของร้าน

อย่างที่เกริ่นข้างต้นเลยค่ะ ว่า IG Story ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการอัปเดตเรื่องราวในชีวิตประจำวัน แน่นอนว่า จะต้องมีตัวระบุ Location เพื่อแจ้งให้ผู้ติดตามทราบ ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ที่ไหนนั่นเอง

และด้วยฟีเจอร์นี้ ธุรกิจเอง ก็สามารถอัปเดตสถานที่จัดกิจกรรมหรือที่ตั้งร้านค้า เพื่อให้ลูกค้าและผู้ติดตามทราบนั่นเองค่ะ

  1. ใช้ Hashtag รวบรวมสินค้าและโปรโมชัน

Hashtag (#) เป็นเหมือนแหล่งรวบรวมคอนเทนต์นั้นๆ เพียงแค่เรากดเข้าไป จะเต็มไปด้วยคอนเทนต์ที่เราติด # ไว้ ถือเป็นอีกหนึ่งความง่าย ในการแยกประเภทเรื่องราวต่างๆนั่นเอง

ใน IG Story มีลูกเล่นคือเพิ่ม Hashtag ดังนั้นเมื่อธุรกิจทำการอัปโหลดรูปภาพหรือวิดีโอของสินค้า/บริการ สามารถเพิ่ม Hashtag เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ลูกค้าสามารถกดเข้าไปดูสิ่งที่เกี่ยวข้องในหมวดหมู่เดียวกัน เผลอๆนี่ยังสร้างรายได้เพิ่มอีกด้วยน้า

  1. การนับถอยหลังเข้าสู่โปรโมชัน โดยการใช้ Countdown 

Countdown Sticker เป็นอีกหนึ่งลูกเล่นที่ได้รับความนิยม สามารถสร้างความตื่นเต้นและทำให้ลุ้นไปพร้อมๆกัน ทั้งตัวของผู้โพสต์และผู้ติดตาม

ซึ่งหากธุรกิจมีแผนที่จะเปิดตัวสินค้าหรือปล่อยโปรโมชันใหม่ๆ และต้องการสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชม และผู้ติดตาม การใช้ Countdown ก็ถือเป็นลูกเล่นน่ารักๆ ที่ช่วยให้สนุกและน่าติดตามมากไปกว่าเดิมอีกด้วยค่ะ

IG Story ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่จะทำให้เราสร้างคอนเทนต์ได้อีกมากมาย โดยการนำลูกเล่นต่างๆมาประยุกต์ให้เข้ากับความเป็นธุรกิจมากขึ้น นอกจากจะสามารถเพิ่มผู้ติดตามใหม่ๆแล้ว ยังถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าเดิมอีกด้วยค่ะ

นอกจากจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มลูกค้าแล้ว การมี Digital Marketing Agency ข้างกาย ก็ยังช่วยสร้างรายได้จากการตลาดออนไลน์อีกด้วยนะคะ หากสนใจการทำ Digital Marketing หรือการตลาดออนไลน์รูปแบบอื่นๆ อย่าลืมนึกถึง MarketingGuru น้า

ติดต่อ MarketingGuru

Inbox Facebook: m.me/marketingguru.io

Line: @marketingguru

โทร 02-381-9045

การตลาดออนไลน์ช่วงโควิด(digital marketing in covid)

ร้านค้ามือใหม่ ทำอย่างไร จะเป็นการตลาดออนไลน์

การตลาดออนไลน์ช่วงโควิด(digital marketing in covid)

จากการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อหลายกิจการ บางส่วนร้ายแรงจนถึงกับต้องปิดตัวลง แต่ก็มีหลายกิจการ ที่ยังคงปรับตัว และสู้เพื่อให้อยู่รอด โดยวิธีที่หลายร้านเลือกใช้ คือการปรับตัวเข้าสู่ “การตลาดออนไลน์” เปลี่ยนจากการมีหน้าร้านปกติ เป็นร้านค้าออนไลน์ เพื่อให้เกิดทางเลือกในการซื้อขายกับผู้บริโภคมากขึ้นนั่นเอง

แล้วร้านค้าออนไลน์มือใหม่ต้องทำแบบไหน ถึงจะเรียกว่าเป็น การตลาดออนไลน์กันนะ ?  วันนี้เรามาไขข้อสงสัยไปพร้อมๆกันดีกว่าค่ะ

  • การทำ Marketing Research 

เชื่อว่าเมื่อขายหน้าร้าน หลายๆกิจการคงรู้ถึงกลุ่มลูกค้า รวมไปถึงคู่แข่งอยู่แล้ว แจ่เมื่อเข้าสู่การปรับตัวเป็นร้านค้าออนไลน์นั้น พฤติกรรมในการบริโภค รวมถึงสื่อและช่องทางต่างๆที่ลูกค้านิยมใช้ จะแตกต่างจากออฟไลน์โดยสิ้นเชิง ดังนั้น การวิเคราะห์ และประเมินเพื่อหากลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึงคู่แข่ง จะนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ให้ร้านค้าออนไลน์มือใหม่ได้อย่างตรงจุด ซึ่งเริ่มจากการที่เราต้องรู้จักสินค้าและบริการของเราก่อน โดยสามารถนำกลุ่มลูกค้าเดิมมาเป็นฐานข้อมูล เพื่อวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าในโลกของการตลาดออนไลน์ได้ เช่น เมื่อก่อน กลุ่มลูกค้าของเราเป็นกลุ่มวัยรุ่น เพศหญิง ชอบแต่งตัวและตามแฟชั่น เราก็นำข้อมูลตรงนี้ไปวิเคราะห์ว่าคนกลุ่มนี้ ที่มีความสนใจแบบนี้ นิยมใช้ช่องทางใดในการซื้อขายในโลกออนไลน์ เป็นต้น

  •  เลือก Social Media ในการขายและโปรโมท

เมื่อเราวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า และรู้ไปถึงคู่แข่งแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการเลือกช่องทางในการตลาดออนไลน์ เพื่อเป็นช่องทางในการขายและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ นอกจากจะเลือกให้ตรงกับ Customer Journey ที่วิเคราะห์ไปแล้ว ควรจะเลือกจากความเหมาะสมของสินค้าด้วย โดยเริ่มจากการใช้ช่องทางเดียว แล้วค่อยขยายเพิ่มช่องทางไปเรื่อยๆ เพื่อถือเป็นการทดสอบแต่ละช่องทางไปในตัว 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับช่องทางการตลาดออนไลน์ได้เพิ่มเติม

  • การทำ Content Marketing

เมื่อทราบช่องทางในการทำการตลาดออนไลน์แล้ว จากนั้นเข้าสู่การทำคอนเทนต์ ซึ่งต้องบอกว่าแต่ละ Platform นั้น มีรูปแบบคอนเทนต์ที่แตกต่างกัน ซึ่งในส่วนนี้ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ จำเป็นที่จะต้องศึกษาเพื่อนำสินค้าและบริการของตน มาเขียนคอนเทนต์ให้อยู่ในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสมแต่ละช่องทาง เพื่อเพิ่มการมองเห็น และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับ Content Marketing ได้เพิ่มเติม

  • การสร้างโฆษณาออนไลน์ & การวัดผล

ในขั้นตอนนี้ แต่ละธุรกิจจะต้องวิเคราะห์ว่า จะลงโฆษณาอย่างไร และวัดผลด้วยวิธีไหน รวมไปถึงจะเลือกวัตถุประสงค์ในการทำ กลุ่มป้าหมาย งบประมาณ และงบประมาณสำหรับแต่ละโฆษณา ส่วนในขั้นตอนการวัดผล จะต้องกำหนดวิธีการวัด เช่น จำนวน Inbox, จำนวน Engagement, จำนวนการเข้าถึง หรือจำนวนการปิดการขาย และต้องวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าของผลและงบประมาณที่ใช้

  • การเก็บ Report 

การทำการตลาดออนไลน์ทุกครั้ง ควรจะมีรายงานสรุปในแต่ละแคมเปญ ตั้งแต่เราทำโฆษณาลงใน Platform ไหนบ้าง แต่ละตัวให้ผลลัพธ์อย่างไร และอาจจะนำมาเปรียบเทียบเพื่อหารูปแบบที่ดีที่สุด เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงส่วนที่ผิดพลาดในรอบต่อๆไป 

การปรับจากร้านค้าออฟไลน์มาเป็นร้านค้าออนไลน์ อาจจะยังดูยุ่งยากในช่วงแรก แต่หากเราเข้าใจ และนำข้อผิดพลาดในแต่ละครั้งมาปรับปรุงและพัฒนาไปสู่กลยุทธ์ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้การทำการตลาดออนไลน์ในครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ 

การตลาดออนไลน์ไม่ใช่เพียงได้รับความนิยมในช่วง Covid-19 เท่านั้นนะคะ อย่าลืมว่าโลกออนไลน์เป็นอะไรที่เข้าถึงและตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้ง่ายและสะดวกมากๆ อย่างไรก็ตาม MarketingGuru ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจและสนับสนุนทุกกิจการให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ ด้วยการลองเปิดใจให้กับการตลาดออนไลน์สักนิดนะคะ เรารับรองถึงยอดขายและผลตอบรับที่คุณอาจจะคาดไม่ถึงเลยล่ะ อิๆ

หรือหากใครอยากทุ่มเทเวลาให้กับธุรกิจเป็นหลัก และอยากหา Digital Marketing Agency เพื่อดูแลการตลาดออนไลน์ให้ ปรึกษา MarketingGuru ได้นะค้า พร้อมให้บริการ Digital Marketing แบบครบวงจร หายห่วงเรื่องการตลาดออนไลน์ได้เลยค่ะ

ติดต่อ MarketingGuru

Inbox Facebook: m.me/marketingguru.io

Line: @marketingguru

โทร 02-381-9045