การทำ Digital Marketing หรือการตลาดออนไลน์ ถือเป็นวิธีที่หลายๆธุรกิจหันมาใช้ ยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้วิธีนี้ ได้รับความนิยมมากขึ้นหลายเท่าตัว ซึ่งจริงๆแล้วนั้น การทำการตลาดออนไลน์ มีเครื่องมือหลากหลายให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละ Platform รวมถึงตามความเหมาะสมของรูปแบบธุรกิจนั่นเองค่ะ
และหากธุรกิจของคุณ เป็นการทำการตลาดออนไลน์ หรือทำแคมเปญโฆษณาผ่านเว็บไซต์ สุดยอดตัวช่วยที่อยากให้แนะนำให้ใช้ คือ ‘Google Analytic’ ค่ะ ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงความเจ๋งของเครื่องมือนี้ ว่าทำไมถึงต้องมี ในการทำ Digital Marketing
Google Analytic คืออะไร
เครื่องมือในการวิเคราะห์ และเก็บข้อมูลสถิติของการทำการตลาดออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ โดยจะแสดงข้อมูลต่างๆของคนที่เข้ามาใช้งานในเว็บไซต์ เช่น เพศ, อายุ, อุปกรณ์ที่ใช้เข้าเว็บไซต์ และมาจากช่องทางไหน เช่น Google หรือ Facebook เพื่อให้นักการตลาดและแต่ละธุรกิจนำข้อมูลส่วนนี้มาใช้วิเคราะห์ และกำหนดกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสม อีกทั้งยังมีความแม่นยำสูง ที่สำคัญ ยังใช้งานได้ฟรีอีกด้วยค่ะ
โดยฟีเจอร์ตัววัดผลของ Google Analytic สามารถแบ่งได้ดังนี้
- Audience
- Acquisition
- Behavior
- Conversion
ก่อนจะทำการเข้าสู่รายละเอียดในเชิงลึก จะขอนำภาพจอแสดงผลของ Google Analytic เพื่อให้เห็นภาพรวมมากขึ้น ตามลักษณะนี้ค่ะ
Google Analytics จะแสดงตัววัดผลไว้ทางด้านขวา และแบ่งสัดส่วนแต่ละตัวเลือกไว้ด้านซ้าย ได้แก่
- Realtime: แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์ในขณะนั้น มีคนเข้าชมเท่าไร
- Audience: แสดงภาพรวมของจำนวนผู้เข้าชม รวมไปถึงข้อมูลต่างๆ เช่น ช่วงอายุ, ความสนใจใ, อาศัยในพื้นที่ไหน รวมไปถึงระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ที่ใช้ด้วยเช่นกัน
- Acquisition: แสดงข้อมูลแห่งที่มาของผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ (Traffic) ว่ามาจากช่องทาง Organic Search (SEO), Paid Search (PPC) หรือ Facebook
- Behavior: แสดงผลพฤติกรรมและสถิติของผู้เข้าชมเว็บไซต์ ว่าเข้าชมหน้าไหนมากที่สุด, มีการคลิกไปหน้าอื่นหรือไม่, ออกจากหน้าไหนเร็วและมากที่สุด และใช้เวลาอยู่หน้าไหนมากที่สุด
- Conversion: เป็นหมวดหมู่ในการกำหนดเป้าหมาย โดยจะแสดงผลว่าเกิด Conversion สู่กลุ่มเป้าหมายนั้นเท่าไร โดยการตั้ง Conversion มีหลากหลายรูปแบบ เช่น การกดซื้อสินค้า, กดติตตาม, อ่านบทความ, กรอกแบบฟอร์ม ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละธุรกิจด้วยเช่นกัน
เมื่อทราบถึงรายละเอียดในภาพรวมแล้ว ต่อไปจะขอเข้าสู่รายละเอียดในเชิงลึกของแต่ละตัวชี้วัดกันค่ะ
ตัววัดผลของ Google Analytic
Audience
โดยการวัดผลจาก Audience นั้น จะเกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งจะแสดงข้อมูลต่างๆ ได้แก่ Demographics (ข้อมูลทั่วไป), Interest (ความสนใจ), Behaviors (พฤติกรรม) รวมไปถึงเบราว์เซอร์และเครือข่ายที่ใช้เข้าสู่เว็บไซต์ของเรา
ภาพแสดงผล Category ‘Audience’
โดยในหมวดหมู่ของ Audience จะแบ่งตัววัดผลแบบย่อยได้ดังนี้
1.1 จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ (Number of Visitors)
ในฟังก์ชันนี้ จะแสดงจำนวนการเข้าชม, ผู้เข้าชม ซึ่งสามารถวิเคราะห์ความเป็นที่นิยมของเว็บไซตฺ และความพึงพอใจของกลุ่มผู้เข้าชมได้
ซึ่งเราสามารถดูจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ ในประเภท Audience หมวด Behavior หัวข้อ Frequency & Recency ตามภาพที่แสดงด้านล่างค่ะ
ภาพแสดงผลในหมวด ‘Frequency & Recency’ ใน Google Analytics
ซึ่งจากผลลัพธ์ตรงนี้ ทำให้เราได้รู้ว่า
กรอบที่ 1: จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ในช่วงเวลาที่กำหนด (Session)
ซึ่งจากภาพ มีจำนวนการเข้าชม 101,132 ครั้ง (ในช่วง 7-13 พ.ค. 2019)
กรอบที่ 2: จำนวนการเปิดดูเพจ (Page Views)
ซึ่งจากภาพ จำนวนการเปิดดูเพจทั้งหมด 310,090 ครั้ง (ในช่วง 7-13 พ.ค. 2019)
ข้อสังเกต: Page View มีมากกว่าจำนวน Session นั่นเพราะการเข้ามาเว็บไซต์ 1 ครั้ง อาจจะดูมากกว่า 1 เพจ นั่นเอง
กรอบที่ 3: หากแบ่งตามจำนวนครั้งของการเข้าชมแล้ว (Count of Session)
จะแสดงจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์และ Page view เป็นเท่าไรจากทั้งหมด ซึ่งจากภาพ
- มีจำนวนการเข้าชม 68,680 ครั้งจากทั้งหมด โดยมาจากการเข้าชมเว็บไซต์แค่ครั้งเดียว
- มีจำนวนการเปิดอ่านเพจ 172,850 ครั้งจากทั้งหมด โดยมาจากการเข้าชมเว็บไซต์แค่ครั้งเดียว
โดยจำนวนการเช้าชมเว็บไซต์ จะนิยมนำมาเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเดือน เพื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้เข้าชมของเดือนนี้และเดือนก่อนหน้า ซึ่งสามารถทำให้วิเคราะห์ได้ว่า สาเหตุที่จำนวนการเข้าชมเพิ่มหรือลดนั้นเป็นเพราะอะไร และนำข้อมูลส่วนนี้ไปปรับปรุงในขั้นตอนต่อไปค่ะ
1.2 อัตราส่วนของผู้เข้าขมเว็บไซต์ใหม่และเก่า (Ratio of new/returning visitors)
ในส่วนนี้ Google Analytics จะใช้ Cookies ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ในการนับ User ทำให้สามารถแยกได้ว่า User นี้เคยเข้ามาแล้วหรือไม่ ซึ่งเราสามารถดูจำนวนในส่วนนี้ผ่าน Audience หมวด Behavior หัวข้อ New vs Returning ได้ ตามรูปด้านล่างนี้ค่ะ
ภาพแสดงผลในหมวด ‘New vs Returning’ ใน Google Analytics
ซึ่งจากภาพจะเห็นได้ว่า
- กรอบที่ 1: กำหนดช่วงเวลา 7-13 พ.ค. 2019
- กรอบที่ 2: แสดงผู้เข้าชมใหม่ จำนวน 68,680 คน และมีจำนวนผู้เข้าชมเก่า 32,452 คน
แม้ว่าการใช้ Cookies ในการนับจำนวนผู้เข้าชม อาจจะไม่ได้แม่นยำ 100% เนื่องจากผู้ใช้สามารถลบคุกกี้แล้วทำการเข้าใหม่ หรือคุกกี้อาจหมดอายุ รวมไปถึงผู้ใช้อาจจะใช้เบราว์เซอร์อื่น แต่ให้ยึดถือผลลัพธ์แบบภาพรวมมากกว่าจำนวนที่แน่นอนดีกว่าค่ะ เพราะมีความสำคัญกว่าอย่างเห็นได้ชัดเลย
ข้อสังเกต
- ถ้าเว็บไซต์เรามีจำนวนผู้กลับมาเยี่ยมชมเว็บ (Returning Visitors) เยอะ นั่นแปลว่าเว็บไซต์เราน่าสนใจ
- ถ้าเว็บไซต์เรามีจำนวน New Visitors มากกว่า Returing Visitors แสดงว่า แคมเปญของเราอาจจะกำลังได้ผลตอบรับที่ดี เพราะทำแล้วเกิดการรับรู้ (Awareness) ไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ หรืออาจจะเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงว่า เรามีการจัดอันดับเว็บไซต์ที่ดี จึงมีคนใหม่ๆค้นหาและพบเห็นเราในอันดับแรกๆของ Search Engine
- เราควรจะมีวัตถุประสงค์ในการทำแคมเปญ เพื่อกำหนดอัตราส่วนของผู้เข้าชมใหม่และเก่า และดำเนินการให้เป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หากเราทำแคมเปญเพื่อให้ลูกค้าใหม่มาลงทะเบียน ก็ควรให้อัตราส่วนของ New Visitor มากกว่า Returning Visitor เป็นต้นค่ะ
นอกจากนี้ เรายังสามารถเปรียบเทียบช่องทางที่ดึงคนเข้ามายังเว็บทั้งรายใหม่และเก่า เพื่อดูว่า Traffic มาจากช่องทางไหนมากที่สุด ผ่านแถบ ‘Secondary Dimension’ แล้วเลือก ‘Source’ ดังรูปด้านล่างค่ะ
หน้าจอแสดงผล การเลือกกดแสดงลัพธ์แบบแบ่งตาม ‘Source’
ภาพแสดงผลจำนวนผู้เข้าชมทั้งใหม่และเก่าตามแหล่งที่มา (Source)
1.3 ระยะเวลาการเข้าชมเว็บไซต์ (Session Duration)
ใต้ตัวเลข Audience หมวด Behavior หัวข้อ Engagement เราจะเห็นว่ามีผู้ชมเว็บไซต์เรานานแค่ไหน
ภาพแสดงผลหมวด ‘Engagement’ ใน Google Analytics
ในส่วนนี้ Google Analytics จะแบ่งกลุ่มตามระยะเวลาการเข้าชมเว็บไซต์ (Session Duration) โดยเริ่มจาก 0-10 วินาที ซึ่งในจำนวนนี้ จะรวมผู้ที่เข้ามาแล้วออกจากเว็บทันทีด้วยเช่นกัน (Bounce)
ซึ่งเราสามารถกรองผู้ที่เข้ามาแล้วออกจากเว็บออกได้ โดยทำการคลิกที่ + Add Segment และเลือก Non-Bounce Session ดังรูปค่ะ
ภาพแสดงผล ตัวเลือก ‘+Add Segment’
ภาพแสดงผลตัวเลือก ‘Non-bounce Sessions’
หลังจากนั้น หน้าจอจะแสดงผลลัพธ์จำนวนการเข้าชม ที่คัดจำนวน Bounces ออกให้ ซึ่งแสดงในแถบสีส้ม ซึ่งจะเห็นว่าจำนวนการ Bounce (ผลต่างของแถบสีฟ้าและส้ม) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ชมที่อยู่ในหน้าเว็บนานเพียง 0-10 วินาที ดังรูปค่ะ
ภาพแสดงผลลัพธ์จากการคลิกตัวเลือก ‘Non-bounce Sessions’
ซึ่งสรุปให้เข้าใจอีกครั้งก็คือ จำนวนการรับชมในช่วง 0-10 วินาที มีคนเข้ามาแล้ว Non-Bounce ทั้งหมด 14,613 คน และมีจำนวนคนที่ Bounce ทั้งหมด 65,569-14,613 ซึ่งเท่ากับ 50,956 คน นั่นเองค่ะ
โดยผลลัพธ์ของการวัดผล
- หากช่วงเวลาการเข้าชมเว็บไซต์นาน แสดงว่าเว็บไซต์เราน่าสนใจ
- แต่ถ้าระยะเวลาการเข้าชมยังน้อยอยู่ เราจะต้องทำการวิเคราะห์ว่าเนื้อแบบไหนถึงจะน่าสนใจ เพื่อทำให้ผู้ที่เข้าชมอยู่ในเว็บไซต์เรานานขึ้น
1.4 เปอร์เซ็นต์การเข้าชมเว็บไซต์เพียงหน้าเดียวแล้วกดออกทันที (Bounce Rate)
Bounce Rate คือตัววัดผลที่แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่เข้าแล้วออกจากเว็บไซต์ หลังจากเข้ามาอ่านหรือรับชมได้เพียงหน้าเดียวเท่านั้น รวมถึงยังเป็นตัวชี้วัดของ Search Engine เพราะถ้าผู้ชมเลือกที่จะออกจากหน้านั้นทีที หมายความว่าพวกเขาคลิกเข้ามาแล้วไม่ได้พบกับสิ่งที่ต้องการ ซึ่งแน่นอนว่า ส่งผลเสียต่อ Search Engine และการจัดอันดับ SEO อีกด้วยค่ะ
หากจำนวน Bounce Rate สูง อาจจะเกิดจากสาเหตุดังนี้
- การออกแบบหน้าเว็บไซต์ไม่ดี
- การใช้งานที่ยากเกินไป
- ผู้ใช้งานกดเข้ามา แล้วไม่พบข้อมูลที่ต้องการ
- ผิดพลาดทางเทคนิค เช่น เว็บไซต์โหลดช้าเกินไป
แต่การที่กดเข้ามาดูเพียงครั้งเดียวแล้วออกจากเว็บไซต์ ไม่ได้มีความหมายเชิงลบเสมอไป นั่นอาจจะแปลได้อีกมุมหนึ่ง คือพวกเขาได้ข้อมูลที่ต้องการแล้ว จึงกดออกจากเพจอย่างรวดเร็ว ซึ่งในกรณีนี้เราควรจะวัดผลจากเวลาเฉลี่ยที่อยู่บนหน้าเว็บ จะแม่นยำและถูกต้องกว่า อย่างไรก็ตาม การที่เว็บไซต์มี Bounce Rate สูงบ่อยๆเสมอๆ ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่ดีเท่าไรนัก เราจึงทำการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไข จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ
Acquisition
หรือที่เกริ่นไปข้างต้น ว่าส่วนนี้เกี่ยวข้องกับแหล่งที่มาของผู้เข้าชมเว็บไซต์ (Traffic)
ภาพแสดงผล Category ‘Acquisition’
2.1 จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ ที่มาจากการค้นหาใน Google ที่ไม่ใช่จากโฆษณา (Number of User from Organic SERPs)
ใน Acquisition หัวข้อ Overview เราจะทราบถึงจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์จาก Google โดยไม่ใช่โฆษณา หรือที่เรียกว่าจาก Organic Search ตามรูปด้านล่างค่ะ
ภาพแสดงผลหมวด Overviews ใน Category ‘Acquisition’
ซึ่งหากดูจากรูป จะเห็นว่ามีจำนวนผู้เข้าชมที่มาจาก Organic Search มากที่สุด โดยมี 55,896 จากทั้งหมด 101,132 Sessions เป็นต้นค่ะ
2.2 จำนวนการเข้าชมในแต่ละแคมเปญ (Number of Newsletter Opens)
ใน Acquisition หัวข้อ Campaigns เราสามารถทราบถึงผลลัพธ์ของแคมเปญทั้งหมดได้ ไม่ใช่แค่เพียงแคมเปญของ Google Ads เท่านั้น
ภาพแสดงผลหมวด Campaigns ใน Category ‘Acquisition’
ยกตัวอย่าง เราสามารถติดตามแคมเปญที่สนใจ ด้วยการแทร็ก URLs และติดตามผลใน Google Analytics ค่ะ
และหากอยากทราบถึงภาพรวมของของจำนวนที่มาการเข้าชม ทำได้โดยคลิก All Traffic และเข้าไปที่ Source/Medium โดยจะแสดงผลตามรูปค่ะ
ภาพแสดงผลจำนวนการเข้าชม (Traffic) ตามแต่ละช่องทาง
Behavior
โดยจะเป็นหมวดหมู่ที่แสดงผลลัพธ์พฤติกรรมผู้เข้าชมในแต่ละเพจของเว็บไซต์ค่ะ
ภาพแสดงผล Category ‘Behavior’
3.1 ค่าเฉลี่ยความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ (Average Page Speed)
โดยสามารถดูผลลัพธ์ส่วนนี้ได้ใน Behavior หัวข้อ Site Speed
ภาพแสดงผลหมวด Site Speed ใน Category ‘Behavior’
ในส่วนนี้นั้น หากผลลัพธ์แสดงออกมาว่า ใช้เวลาในการโหลดหน้าเว็บไซต์นาน จะส่งผลเสียต่อทั้งผู้เข้าชมเว็บ (Users) และ Search Engine
- ส่งผลเสียต่อ User: หากผู้เข้าชมต้องรอโหลดหน้าเว็บนาน อาจจะส่งผลให้กดออกจากเว็บของเรา และไปยังเว็บของคู่แข่งแทน
- ส่งผลเสียต่อ Search Engine: หรือส่งผลต่ออันดับของเว็บไซต์ในหน้าแรกของ Google ทำให้จำนวนการเข้าชมเว็บน้อลง
โดยเราควรทำให้เวลาในการโหลดหน้าเว็บน้อยที่สุด นอกจาก User และ Search Engine แล้ว ยังคงส่งผลต่อปัจจัยย่อยอื่นๆ เช่น Bounce Rate เพราะเมื่อเว็บโหลดช้า อาจจะทำให้ผู้เข้าชมกดออกจากเว็บไซต์ได้ทันที โดยไม่คลิกไปยังเพจอื่นๆในเว็บนั่นเองค่ะ
3.2 เวลาเฉลี่ยที่ผู้เข้าชมอยู่บนหน้าเพจนั้นๆบนเว็บไซต์ (Average Time on Page)
ซึ่งสามารถดูได้ โดยเข้าไปที่ Behavior หมวด Website Content หัวข้อ All Page ที่แสดงดังรูปค่ะ
ภาพแสดงผลค่า Avg. Time on Page ในหัวเรื่อง Site Content
เวลาเฉลี่ยที่ผู้เข้าชมอยู่ในเว็บ สามารถประเมินได้ ว่าคอนเทนต์ของเรานั้นตรงกับความสนใจและความต้องการของพวกเขาหรือไม่ หากคอนเทนต์ไหนที่มีค่าเฉลี่ยในส่วนนี้นาน แสดงว่าตรงกับความต้องการของผู้เข้าชม ในทางกลับกัน หากคอนเทนต์ไหนมีค่าเฉลี่ยเวลาที่รวดเร็ว ก็แสดงว่าคอนเทนต์ของเรายังไม่ตรงใจกลุ่มผู้ชม โดยข้อมูลตรงส่วนนี้นั้น เราสามารถวิเคราะห์ต่อไปได้ว่าคอนเทนต์แบบไหนที่ถูกใจกลุ่มผู้ชมนั่นเองค่ะ
Conversion
จะเป็นการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของวัตถุประสงค์ในแต่ละแคมเปญว่าเป็นเช่นไร
ภาพแสดงผล Category ‘Conversion’
4.1 Conversion Rate
ใน Conversion เราสามารถดูค่า Conversion Rate ที่กำหนดไว้ ได้แก่
- การกดซื้อสินค้า
- การกดติดตามใหม่
- การอ่านบทความ
- การกรอกแบบฟอร์ม
โดยจากตัวอย่างที่ยกมา จะเป็นค่า Conversion ทั้งหมด เพราะเป็นผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นแค่การซื้อขายเท่านั้น
ขั้นตอนการตั้งค่าแบบคร่าวๆ
- กำหนดเป้าหมายไว้ใน Google Analytics โดยคลิกที่ Admin (รูปฟันเฟือง)
- เข้าไปในส่วนของ Property Setting ในหัวข้อ Goals
- คลิกที่ New Goals เพื่อกำหนดเป้าหมายใหม่ได้ ตามภาพด้านล่างค่ะ
ผลลัพธ์หรือ Conversion ที่เกิดขึ้นของเป้าหมายที่เราได้ตั้งเอาไว้ค่ะ
โดยจากรูป ตัวอย่าง Goal ที่ตั้งไว้คือ ebook Downloads (Goal 4 Completions) และ FREE Registration Complete (Goal 9 Completions) เป็นต้น
ซึ่งค่า Conversion จากตัวอย่าง เป็นดังนี้ค่ะ
- Goal: ดาวน์โหลด Ebook [ebook Downloads (Goal 4 Completions)]
- Conversion: 0 (ยังไม่มีการดาวน์โหลด Ebook เกิดขึ้น)
- Goal: กดปุ่มลงทะเบียนฟรี [FREE Registration Complete (Goal 9 Completions)]
- Conversion: 10,325 (มีการกดลงทะเบียนฟรี 10,325 ครั้ง)
ขอบคุณที่มา:
https://stepstraining.co/analytics/9-kpis-web-google-analytics
https://en.ryte.com/magazine/google-analytics-these-are-the-10-most-important-kpis-for-your-website
และทั้งหมดนี้คือข้อมูลเชิงลึกของ Google Analytic ซึ่งเป็นรายละเอียดของตัววัดผลแคมเปญและคอนเทนต์บนเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงผลลัพธ์และคุณภาพ โดยวัดจากทั้งจำนวนและพฤติกรรมของผู้ที่เข้าชม โดยทั้งหมดนี้นั้น ส่งผลต่อเว็บไซต์โดยตรง รวมไปถึงการจัดอันดับหน้าแรกของ Google (SEO) ด้วยเช่นกัน ดังนั้น Google Analytic จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ ที่เรียกได้ว่า ธุรกิจควรมีไว้อย่างยิ่งเลยค่ะ
และด้วยสถานการณ์ของการแพร่ระบาดเชื้อ Covid-19 แบบนี้ ทำให้ Digital Marketing เป็นที่นิยมในหมู่ธุรกิจมากขึ้น หากอยากมี Digital Marketing Agency ในการทำการตลาดออนไลน์ รวมไปถึงการดูแล Digital Marketing ในวิธีการอื่นๆนอกเหนือจาก Google Analytic แล้วนั้น MarketingGuru ยินดีช่วยเหลือและพร้อมให้บริการนะคะ
ติดต่อ MarketingGuru
Inbox Facebook: m.me/marketingguru.io
Line: @marketingguru
โทร 02-381-9045