ChatGPT กับทิศทางคอนเทนต์ 2023 สำหรับทุกองค์กร!

ChatGPT กับทิศทางคอนเทนต์ 2023 สำหรับทุกองค์กร!

เป็นที่น่าจับตามากขึ้น เมื่อเครื่องมือใหม่อย่าง ChatGPT  มีผู้ลองเข้าใช้งานมากถึง 100 ล้านกว่าคนภายใน 2 เดือนหลังจากเปิดตัว สร้างความฮือฮาให้กับวงการคอนเทนต์ เมื่อบริษัทต่างๆนำเจ้าเครื่องมือนี้เข้ามามีส่วนช่วยในการสร้างคอนเทนต์หลากหลายรูปแบบ ในฐานะอีกหนึ่งผู้ให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล Marketingguru ขอนำบทความวิเคราะห์แนวทางคอนเทนต์ต่างๆ ในปี 2023 มาฝากกัน

ChatGPT กับ Content Marketing 2023
ChatGPT กับทิศทางคอนเทนต์ 2023

Content Marketing กับ ChatGPT

คอนเทนต์มาเก็ตติ้ง คือ การที่แบรนด์สื่อข้อความไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยให้คอนเทนต์เป็นสื่อกลางตามจุดประสงค์ต่างๆ เช่น เพิ่มยอดขาย จำนวนผู้ติดตาม หรือออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้ลูกเค้าได้รับรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการมากขึ้น นอกจากนี้คอนเทนต์ยังมีความแตกต่างตามแต่ละช่องทางในการโพสต์

การนำโปรแกรม AI อย่าง ChatGPT หรือที่ย่อมาจาก Generative Pre-trained Transformer  ที่ใช้โมเดลภาษาที่มนุษย์ในการประมวลผลผ่านทางบทสนทนา เพื่อผลิตเนื้อหารูปแบบต่างๆ จะช่วยให้ Content marketing ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การเข้าใจและปรับใช้เครื่องมือนี้จะช่วยให้ผลิตคอนเทนต์ออกมาได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

 

ทิศทางการเขียนคอนเทนต์ในปี 2023

 

  • วิวัฒนาการใหม่ของคอนเทนต์

ChatGPT ได้เข้ามาตอบโจทย์ในการเขียนอีเมล บทความ เรซูเม่ สูตรอาหารหรือสคริปต์ต่างๆ ผ่านการโต้ตอบกับผู้ใช้งาน พร้อมทั้งมอบคำแนะนำ และเนื้อหา ที่ปรับมาจากความต้องการของลูกค้า โดยสามารถกำหนดได้ว่าต้องการเขียนเพื่อกลุ่มไหน และระดับภาษาใด เช่น Business language หรือ Academic ไปใช้ในงานทางธุรกิจมากขึ้น รวมทั้งสามารถป้อนให้เขียนเนื้อหาให้เหมาะกับธุรกิจหลากหลายรูปแบบ

 

  1. AI Chatbot โปรแกรมแช็ตสนทนาสุดแจ๋ว

ผู้ใช้งานสามารถขอข้อมูลที่ insightful จากงานวิจัย บทความต่างๆ ผ่านแช็ตสนทนาในหัวข้อต่างๆ ให้ผลิตเนื้อหาตรงตามที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้ ผู้เขียนควรจะอ่าน ตรวจสอบและปรับโทนของเนื้อหาให้เป็นธรรมชาติ กระชับ เพื่อเข้าใจง่าย นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เครื่องมือสอบถามคีย์เวิร์ด เช็คไวยากรณ์ผ่านทางบทสนทนาได้อีกด้วย

 

  1. กังวลกับ SEO มากเกินไปเปล่า

บางครั้งการใช้ คีย์เวิร์ดมากจนเกินไป (keyword density) ทำให้เนื้อหาเข้าใจยาก อ่านแล้วไม่สมูท Google ต้องออกกฎบังคับใหม่ เพื่อให้เหล่าครีเอเตอร์พิจารณาให้การคิดคอนเทนต์มากขึ้น เพราะกูเกิ้ลมองว่า เนื้อหาควรจะสร้างเพื่อให้ประโยชน์และความรู้แก้ผู้ใช้งานมากกว่าเครื่องมืออย่าง search engine ดังนั้น นักการตลาดและทีมควรที่จะปรึกษา หาข้อมูลก่อนลงมือเขียน โดยพิจารณาจากคีย์เวิร์ด จุดประสงค์ในการอ่าน หรือเปรียบเทียบเนื้อหาจากแหล่งอื่นที่มีหัวข้อใกล้เคียงกัน เพื่อไม่ให้เกิด over-optimizing นั่นเอง

 

  1. การสร้างความแตกต่าง (Differentiation)

แต่ละแบรนด์ย่อมอยากสร้างความโดดเด่น ความเป็นเอกลักษณ์ต่างจากแบรนด์อื่นๆ เนื่องจากคอนเทนต์ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยสื่อจุดประสงค์ไปให้ถึงผู้รับสาร การสร้างคอนเทนต์ที่แตกต่าง จึงอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ข้อมูลเฉพาะ รูปแบบการนำเสนอ ทั้งนี้ เราควรกำหนด  content framework ให้ชัดเจน

 

  1. รูปแบบภาพและสื่อวิดีโอ

ในปี 2023 นี้ต้องยอมรับว่า แพลตฟอร์มอย่าง TikTok หรือ Instagram Reels ได้เปลี่ยนวิถีการเสพสื่อของผู้คนทั่วโลก Short video นับได้ว่าเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพที่สุดในยุคนี้ ง่ายต่อการโปรโมตและแชร์ไปยังแอปพลิเคชัน แพลตฟอร์มต่างๆ อย่างไรก็ตามรูปแบบ Short video อาจจะไม่ได้เหมาะกับสินค้าหรือบริการทุกชนิดเสมอไป อีกทั้งแบรนด์หรือบริการที่เน้นการขายบนเว็บไซต์เป็นหลัก กลยุทธ์ Content marketing อาจเหมาะกับเนื้อหา long-form อย่างการเขียนบล็อกมากกว่า

 

  1. ทำความเข้าใจกับเครื่องมือ 

ต่อให้เทคโนโลยีใหม่ๆ จะเข้ามามีส่วนช่วยมากแค่ไหน ก็ต้องทำความเข้าใจขอบเขตที่สามารถสั่งการได้  เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและคำตอบที่ต้องการ แล้วจึงนำมาปรับอีกครั้งก่อนพับลิชเนื้อหา ยิ่งถ้ากรณีเขียนบนเว็บไซต์ ก็สามารถใช้เครื่องมืออื่นควบคู่ไปด้วย เพื่อเช็คว่าเมื่ออยู่บน SERPs แล้วเนื้อหาหน้าตาเป็นอย่างไร 

 

  1. ห้ามหลุดโฟกัส

โฟกัสที่ดีจะช่วยกำหนดทิศทางในการเขียน เรียงลำดับเนื้อหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อ่านแล้วเข้าใจ ผู้อ่านได้ประโยชน์ หรือรับสารตามที่ต้องการจะสื่อ  ดังนั้น จุดโฟกัสเป็นสิ่งที่ช่วยให้คอนเทนต์ออกมาดีมีคุณภาพ ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 

 

  1. ความสม่ำเสมอ และคุณค่า (value)

ความสม่ำเสมอในการลงคอนเทนต์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงในการทำ Content marketing สำหรับเจ้าของแบรนด์ ที่ต้องการให้แบรนด์บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่อย่าลืมว่า คุณภาพ ควรมาก่อน ปริมาณเสมอ เนื้อหาควรมีคุณค่าให้กับผู้อ่าน โดยสามารถคำนึงถึง

  • หัวข้อ เนื้อหาที่ตรงการนำเสนอ 
  • โทน เสียง มู้ด เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย
  • รูปแบบที่ใช้นำเสนอ เช่น บล็อก หรือวิดีโอ
  • กำหนดวัด performance เช่น traffic, bounce rates, engagements, conversions เป็นต้น

 

  1. Intelligent Automation

หลายคนอาจสงสัยเทคโนโลยี IA (Intelligent Automation) อย่าง chatbots GPT ที่เข้าใจภาษามนุษย์จะช่วยอะไรได้บ้าง เจ้าเทคโนโลยีประหยัดเวลาและแม่นยำนี้จะตรวจสอบแก้ไขจุดผิดพลาด ทั้งเนื้อหา text ธรรมดาทั่วไป คณิตศาสตร์ หรือแม้แต่ภาษา coding

 

  1. มนุษย์ vs เครื่องมือ

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่านอาจพบว่า ChatGPT มีข้อดีมากมายเต็มไปหมด อย่างไรก็ตาม เครื่องมือก็ไม่สามารถทดแทนทักษะ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ในการสรรร์สร้างคอนเทนต์ของมนุษย์ได้ทั้งหมด เพียงแต่มาช่วยเสริมประสิทธิภาพและปรับปรุงภาพรวมของงานเท่านั้น

 

ท้ายนี้ ทาง Marketingguru ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านหลายๆ ท่าน วางแผนแนวทางการเขียนเนื้อหาโดยประยุกต์ใช้เครื่องมือแชทจีพีทีมาเป็นตัวช่วย หากต้องการปรึกษาเกี่ยวกับ Content marketing หรืองานบริการบทความดีๆ ด้วยเครื่องมือ SEO นึกถึง Marketingguru นะคะ 🙂

 

ติดต่อเราได้ที่

 

Inbox Facebook: m.me/marketingguru.io

 

Line: @marketingguru

 

โทร 02-381-9045